เมืองพัทยาเดินหน้ารับฟังความคิดเห็นศึกษาความเหมาะสม​ ออกแบบและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบรถไฟฟ้า​ ครั้งที่2

เมืองพัทยาเดินหน้ารับฟังความคิดเห็นศึกษาความเหมาะสม​ ออกแบบและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบรถไฟฟ้า​ ครั้งที่2

22 พ.ค. 63 เวลา 09.00 น. นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า​ ครั้งที่​ 2 ซึ่งมีนายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดการโครงการฯกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมครั้งนี้​ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2563 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ​ บริเวณ​ชั้น ๔ ศาลาว่าการเมืองพัทยา มี​หน่วยงานราชการ​ สถานพยาบาล​ ชุมชน​ ประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ​ เข้าร่วมรับฟัง โดยแบ่งการประชุมเป็นวันละ ๒ รอบ เช้า – บ่าย รอบละ ๔๐ คน รวมทั้งสิ้น ๒๔๐ คน เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม​( Social Distancing) ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙

ปัจจุบันพัทยากำลังประสบปัญหาความแออัดด้านการจราจรและขนส่งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในตัวเมือง​ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สาเหตุหลักของปัญหาการจราจรและขนส่งในเมืองพัทยา คือ ระบบขนส่งสาธารณะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลพอเพียง ส่งผลให้มีปริมาณการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้เกิดปัญหามลพิษทั้งทางอากาศและทางเสียง ดังนั้น​ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อรองรับการเดินทางในเมืองพัทยาให้ครอบคลุมทั้งที่พักอาศัยและแหล่งกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 พบว่าเมืองพัทยามีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากยิ่งขึ้นหากสถานการณ์คลี่คลายลง จะต้องดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพสูง เป็นการป้องกันปัญหาการจราจร การขนส่งได้ในอนาคต ภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาการขนส่งระบบราง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและลดความต้องการการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับโครงการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบ ให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านการคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดของโครงการนำร่องของระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพในเส้นทางที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด นอกจากนี้จะมีการศึกษาผล
กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้​การพัฒนาโครงการมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ