เสริมสร้างมวลกระดูก อย่างครบทุกมิติ ด้วย "PROTETITE" นวัตกรรมใหม่หนึ่งเดียวในโลก จบปัญหากระดูกเสื่อม และกระดูกพรุน ที่คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด!

การสูญเสียมวลกระดูกอันตรายต่อสุขภาพ

   กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิตและมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงมวลกระดูกตลอดเวลา โดยมีการสร้างและสลายของกระดูก ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ หากเกิดความไม่สมดุลระหว่างการสลายเนื้อกระดูกและการสร้างเนื้อกระดูกใหม่ทดแทน จะทำให้เกิดโรคกระดูกขึ้นได้ เช่น โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ฉะนั้นการเข้าใจพื้นฐานกลไกของการเกิดโรคกระดูกจึงสำคัญ ในการพิจารณาศึกษา เลือกวิธีการป้องกัน และรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรง จนถึงยามแก่ชราให้มีคุณภาพและความเป็นอยู่ของชีวิตอย่างมีความสุข

   โครงกระดูกเป็นโครงร่างค้ำจุนร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะเป็นโครงสร้างให้กล้ามเนื้อมายึดเกาะ ใช้ในการเคลื่อนไหว เป็นโครงป้องกันอันตรายมิให้มากระทบกระแทกอวัยวะภายใน และเป็นแหล่งที่ช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้เป็นปกติและคงที่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติของเรา

   กระดูกมีมวลสูงสุดเริ่มในวัยต้นๆ อายุ 18-20 ปี ในเพศหญิง และเพศชาย โดยหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิงจะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิงเมื่อใกล้และหมดวัยประจำเดือน จะสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าเพศชาย โดยอาจสูญเสียมวลกระดูก 3-5 % ต่อปีเลยทีเดียว

เจาะลึกเรื่องเนื้อกระดูก (Bone Matrix)

   เนื้อกระดูกประกอบด้วยชั้นโปรตีนสลับซับซ้อนไปมาอย่างมีระบบและเป็นระเบียบ โดยมีคอลลาเจน Type l ประมาณ 99% เป็นโปรตีนหลัก ซึ่งชั้นของคอลลาเจนเป็นแกนข้างในที่มีเกลือแร่ของแคลเซียมและฟอสฟอรัสเกาะและสอดแทรกอยู่ โดยกระดูกสามารถยืดหยุ่นได้เพราะคอลลาเจน รวมถึงกระดูกแข็งแรงเพราะเกลือแคลเซียม - ฟอสเฟต ผลรวมทั้งสองอย่างนี้จึงทำให้กระดูกแข็งแรง แต่ยืดหยุ่น อ่อนไหวได้ สามารถต้านทานต่อความดัน แรงกดทับและกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

องค์ประกอบกระดูก

   กระดูกมีองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นอินทรีย์สาร (Oraganic Matters) มีประมาณ 35% โดยน้ำหนักของกระดูก ประกอบด้วยโปรตีนชนิดต่างๆ ซึ่ง 90% เป็นโปรตีนคอลลาเจน (Type I Collagen) และอีกประเภทคือ อนินทรีย์สาร (Inorganic Matters) เป็นพวกแร่ธาตุ (Minerals) มีแคลเซียมและฟอสเฟต ในรูปของ Apatite เป็นหลัก ซึ่งกลุ่มน้ำหนักมีประมาณ 65% ของกระดูก

   กระดูกมนุษย์เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน (Complex Moleecules) ที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลระหว่างคอลลาเจนกับแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งการสร้างกระดูกต้องใช้ทั้งฟอสฟอรัสและแคลเซียม (รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น วิตามินดี) เพราะแคลเซียมอย่างเดียวสร้างกระดูกไม่ได้

หน้าที่ของกระดูก

   1. ป้องกันอวัยวะภายใน เช่น สมองอยู่หัวกะโหลก หัวใจและปอดถูกหุ้มด้วยกระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง

   2. เป็นที่ยึดเกาะของอวัยวะภายใน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เมื่อมีอายุมากขึ้น กระดูกจะเสื่อมลงเพราะมีการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกสันหลังยุบตัว หัวใจและปอดจึงหล่นลงมากดทับอวัยวะในช่องท้อง จึงทำให้ท้องป่องออกมาด้านหน้าโปรตีนและคอลลาเจนที่ยึดอวัยวะต่างๆ เคลื่อนที่ผิดไปจากเดิม สร้างความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้อง ดันลงไปในส่วนของเชิงกราน ซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน สุขภาพของคนแก่จึงย่ำแย่ไปทั้งหมด

   3. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อทั้งหมดประมาณ 640 มัด กล้ามเนื้อซึ่งทำงานได้โดยผ่านข้อต่อกระดูก 360 แห่ง ถ้าไม่มีกระดูกมนุษย์จะเคลื่อนที่ได้แบบไส้เดือน

   4. เป็นคลังสำรองของแคลเซียมและแร่ธาตุต่างๆ ทำหน้าที่ควบคุมความเป็นกรดด่างของร่างกาย โดยมีแคลเซียมเป็นตัวหลักสำคัญที่สุด ซึ่งแร่ธาตุที่คนมีมากที่สุด ได้แก่ แคลเซียมซึ่งมีมากกว่า 1 กิโลกรัมในร่างกาย 99% ของแคลเซียมอยู่ในกระดูก และอีก 1% อยู่ในเลือด

   5. กระดูกเป็นโรงงานการสร้างเลือดแบ่งได้ 3 กลุ่ม
      5.1 สร้างเลือดแดง เพื่อนำอาหารไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย
      5.2 สร้างเลือดขาวหลายชนิด เพื่อนำไปทำลายศัตรูแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย
      5.3 สร้างเม็ดน้ำเหลืองชนิดต่างๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย    

เรียกได้ว่า กระดูก จึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่หลายๆ ท่านไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อสุขภาพกระดูกดีขึ้น ย่อมทำให้คุณภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้นตามไปด้วย 

สนใจติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดได้ทาง
สนับสนุนโดยบริษัท ช.ยูเนี่ยน เฮ็ลธี แคร์ จำกัด
ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Dr.BOPLUS แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย 
"เราภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกระดูกให้กับสังคม"
Facebook : Dr.BOPLUSofficial
Line ID : @Dr.BOPLUSofficial
Instagram : dr.boplus
Website : https://chorunionhealthycare.com/

Facebook : https://www.facebook.com/Dr.BOPLUSofficial Instagram : https://www.instagram.com/dr.boplus/