ผลกระทบจากหมอกควัน PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่อย่างต่อเนื่อง การตัดไม้ทำลายป่า และการเผาเศษวัชพืช ต้นไม้ รวมทั้งเศษพืชจากการทำการเกษตรต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุจากการทำการเกษตรของเกษตรกรบนพื้นที่สูง ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกษตรต้องทำเช่นนั้น เพราะขาดความรู้ในการทำการเกษตรที่ถูกต้อง การทำการเกษตรแบบเดิมที่บอกต่อๆ กันมา กลายเป็นความเคยชินในการทำการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ป่าทยอยลดลง และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนำไปสู่การประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น หมอกควันที่ทำให้คนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนทั้งหมดต้องประสบเป็นประจำทุกปี และสาเหตุหลักมาจากการเผาป่าไม้ การเผาเศษวัสดุจากการเกษตร ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศและค่าฝุ่นควัน PM 2.5 ที่มีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฮิลล์คอฟฟ์ได้ผลักดันและพัฒนาโครงการ“No Burn, Grow Coffee” รณรงค์ให้เกษตรกร เลิกปลูกพืช อุตสาหกรรมอายุสั้น ที่ทำลายป่าและหน้าดิน หันมาปลูกกาแฟเป็นการทดแทน และปลูกกาแฟแบบ ‘วนเกษตร“ โดยปล่อย ให้ต้นไม้สูงให้ร่มเงา โอบล้อมต้นกาแฟเอาไว้ ทำให้บนดอยยังมีป่าที่จะเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ และหล่อเลี้ยงผู้คน ในละแวกได้อย่างอุดมสมบูรณ์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ หลังจากนั้น Hillkoff ได้เริ่มต้นการคิดค้นวิธีบำบัดควันจากการคั่วกาแฟ ทำให้ช่วยบำบัดมลพิษทางอากาศ และช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังทำให้เกษตรกรไม่มีการเผาป่าจากการทำไร่เลื่อนลอย หันมาปลูกกาแฟทดแทน ทำให้ช่วยลดควันจากการเผาป่าเผาดอย อีกทั้งยังยึดหลัก Zero waste โดยพยายามใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด กว่าจะมาถึงวันนี้..จากจุดเริ่มต้นสู่ความพยายามสูงสุดในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน Hillkoff เราเริ่มมาจากธุรกิจค้าขายเครื่องใช้ฝีมือชาวไทยภูเขาในภาคเหนือและเป็นศูนย์กลางให้เกษตรกร บนดอยได้แลกเปลี่ยนสินค้าการเกษตร ในยุคที่ชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพและปลูก “ฝิ่น” เพียงเพราะความยากจน แต่ไม่ใช่อาชีพที่ยั่งยืน ภายหลัง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นถึงวิกฤตนี้ จึงทรงแนะนำให้ปลูกพืชทดแทนเป็น ข้าว ถั่วแดง ฟักทอง และหนึ่งในนั้นคือ “กาแฟ” ผู้คนบนดอยเริ่มทำความรู้จักกับกาแฟ (ต้นไม้แปลกหน้าทีมีผลกลมสีแดงๆ) เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2516 โดยนายธีระ ทักษอุดม ผู้บุกเบิกกาแฟชาวไทยภูเขาช่วยสานต่อเครือข่ายชาวไทยภูเขาให้แข็งแรงขึ้น ใช้เวลาหมดไปกับการตระเวนไปตามพื้นที่สูงในภาคเหนือและชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกกาแฟ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อุตสาหกรรมกาแฟในภาคเหนือค่อยๆ เติบโต ไม่นานนัก โรงงานกาแฟชาวไทยภูเขาแห่งแรกในภาคเหนือก็ถือกำเนิดขึ้นเครื่องคั่วกาแฟจากเยอรมันถูกนำเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีการทำวิจัยและส่งขายในตลาดอย่างจริงจัง ขณะนั้น ครอบครัวของเราได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของภาคเหนือที่ทำกาแฟอราบิก้า คุณธีระใช้เวลาหลายปีสำหรับสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมผู้ปลูกโดยการลงสนามทำธุรกิจกาแฟอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน “กาแฟ” ก็เปลี่ยนสถานะจากพืชแปลกหน้าที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตที่ใครๆก็ดื่ม ปัจจุบันตลาดกาแฟไทยพัฒนาไปอย่างรวดเร็วติดลำดับที่ 23 ของโลกสังคมผู้ดื่ม ก็เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตลาดมีความต้องการกาแฟในปริมาณที่มากเพื่อรองรับความต้องการ ของผู้บริโภคที่สูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน หลังจากนั้น คุณปุ่น (นฤมล ทักษอุดม) ทายาทของผู้บุกเบิก (คุณธีระ ทักษอุดม) ได้ก้าวเข้ามาอยู่ใน วงการนี้อย่างเต็มตัวในนาม Hillkoff ธุรกิจคั่วบดกาแฟที่มุ่งความสนใจไปยังกลุ่ม ผู้ประกอบการร้านกาแฟดูแล ในเรื่องอุปกรณ์ทำกาแฟ จัดฝึกอบรม ศูนย์ซ่อมเครื่อง และการออกแบบร้านจนกลายมาเป็นธุรกิจกาแฟ ครบวงจร “กระโดดออกจากถ้วยกาแฟถ้วยเดิม” Hillkoff เริ่มต้นเฟ้นหาประโยชน์ของกาแฟที่เป็นมากกว่าเครื่องดื่มในถ้วย และค้นพบคุณค่า จากทุกส่วน ของกาแฟ และใช้อย่างคุ้มค่าโดยไม่เหลือส่วนใดทิ้งไว้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ อุตสาหกรรมกาแฟจะต้องไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ป่าจะต้องไม่ถูกทำลาย การเติบโตของ Hillkoff จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสุดความสามารถ โดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราใช้ระบบการจัดซื้อแบบไดเรกเทรด (Direct trade) มาตั้งแต่รุ่นบุกเบิก โรงคั่วกาแฟจะรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง เป็นเมล็ดกาแฟทุกเมล็ด ทุกสี ทุกแบบ เพราะเมื่อสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟทุกผลจะออกไปหมด ระบบตรวจสอบผลผลิตอย่างเป็นระบบ เพราะจะทำให้เมล็ดมีคุณค่า พลิก “ความเสี่ยง” ให้เป็นโอกาส โดยการนำวิทยาศาสตร์มาหลอมรวมกับธรรมชาติ จนพบว่าเปลือกสีแดงๆ (Coffee Pulp) เป็นชาเชอร์รี่ที่มีคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบ ในแมคโครฟาจและการดื้อต่ออินซูลินในไขมันได้ ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ เช่น โลชั่น ครีมกันแดด เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไซเดอร์พร้อมดื่ม นำกาแฟเข้าไปอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ เช่น ขนม อาหาร ซอส ถ่าน กระถางต้นไม้ และเครื่องดนตรีวิทยาศาสตร์ ผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมเป็นอย่างมาก Hillkoff จึงมุ่งออกแบบระบบการผลิตที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้ทั้ง Hillkoff และเพื่อนเกษตรกรจับมือกันก้าวข้ามไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น ตลาดกาแฟไทยปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมกว่า 60,0000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบัน Hillkoff ยังคงต้องปรับตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันตัวเองก้าวเข้าสู่ยุคธุรกิจแบบ Circular Eco System โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา นักวิจัยและองค์กรด้านนวัตกรรม เรากำลังเดินหน้าไปพร้อมๆ กับเป้าหมายของภาครัฐที่กำลังส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆ ภายใต้แนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) Hillkoff มุ่งศึกษาและพัฒนาคุณค่าจากทรัพยากรในท้องถิ่นและกาแฟในโลกของเรา ไม่จำกัดเพียงพืชเครื่องดื่ม หากเรารู้คุณค่าคุณประโยชน์อย่างแท้จริง อุตสาหกรรมกาแฟจะเติบโตก้าวหน้าต่อไป เราดำเนินธุรกิจบนความตั้งใจพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืน