เปิดใจที่มาของร้าน Mantalay กับเส้นทางการขายอาหารทะเลที่โคตรสดตามคอนเซ็ปต์ “สดกว่านี้ กินในทะเล” ที่พร้อมส่งตรงถึงหน้าบ้าน!!

        เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเป็นสาวก Sea food กันใช่ไหมล่ะคะ แต่การจะไปซื้ออาหารทะเลที่ห้างสรรพสินค้าแล้วมาปรุงเองที่บ้านก็มักจะพบกับปัญหาได้วัตถุดิบที่ไม่สด พอปรุงมาแล้วเลยได้รสชาติที่ไม่อร่อยเท่าที่ควร แต่จะไปนั่งรับประทานสดๆ ริมทะเลเลยก็จะเป็นเรื่องยากในการเดินทางสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดห่างไกลจากทะเล วันนี้เราเลยจะพามารู้จักร้าน Mantalay (มันทะเล) ซึ่งเป็นร้านขายอาหารทะเลโดยเจ้าของเรือประมงที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาหารทะเลเป็นอย่างมาก สืบทอดความสามารถมารุ่นสู่รุ่นตั้งแต่คุณปู่คุณย่า เพื่อทำการส่งมอบอาหารทะเลที่สดใหม่มีคุณค่า เสมือนเพิ่งตกมาจากทะเลสดๆ! แร่และแพ็คมาให้อย่างดีพร้อมปรุงรสหรือใช้ทำอาหารที่บ้านได้เลยและทางร้านยังการันตีให้อีกด้วยว่าปลอดภัยจากสารเคมีทุกชนิด 100% ที่สำคัญไม่มีการผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงไม่ต้องกลัวว่าอาหารจะผ่านหลายต่อก่อนถึงมือลูกค้าและแก้ปัญหาการบวกราคาที่มากเกินไปของพ่อค้าคนกลางนั่นเองค่ะ

ก่อนจะเป็น Mantalay (มันทะเล)

        โดยคุณชุตินันท์เล่าว่า คุณกิติศักดิ์(สามี) นั้นมีพื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัดสมุทรสงคราม ทางบ้านได้ทำอาชีพประมงพาณิชย์มาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษสืบทอดมายังรุ่นพ่อแม่ของตน ตนจึงได้คลุกคลีและใกล้ชิดกับงานและอาชีพด้านประมงมาตั้งแต่เด็กและเห็นว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพสุจริตที่หล่อเลี้ยงครอบครัวลูกหลานจนสามารถเรียนจบปริญญามาได้ และเห็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือเป็นอาชีพที่สงวนสิทธิ์ที่จะให้เฉพาะคนไทยเท่านั้นเป็นเจ้าของกิจการได้ แต่ก็มีข้อเสียและความเสี่ยงเหมือนกันนั่นก็คืออาชีพนี้มักจะประสบพบเจอกับอุปสรรคหลายๆ อย่างเป็นประจำเช่น ปัญหาน้ำมันราคาแพง ปัญหาเรื่องบุคลากรเนื่องจากขาดแคลนชนชั้นแรงงาน ปัญหาของราคาสินค้าตกต่ำในบางฤดูกาล ซึ่งเมื่อทุกๆ ครั้งที่เกิดวิกฤติหรือปัญหาขึ้น มักจะเห็นชาวประมงหรือเจ้าของเรือต้องเลิกกิจการหรือล้มหายไปเรื่อยๆ ซึ่งโดยส่วนตัวนั้นคุณกิติศักดิ์และคุณชุตินันท์ มีความคิดตรงกันที่ว่าอาชีพประมงเป็นอาชีพที่เปรียบเสมือนเป็นแหล่งของอาหารทะเลที่อุดมสมบูรณ์ที่จะคอยหาอาหารมาเติมเข้าตู้เย็น เปรียบเสมือนครัวให้กับประเทศเลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้าวัตถุดิบในตู้เย็นดี อาหารที่ทำออกมาก็จะมีรสชาติอร่อยจากพื้นเพวัตถุดิบที่ดีนั่นเอง ในทุกๆ ครั้งที่เรือกลับเข้าฝั่งมา จะพบสัตว์น้ำจำนวนมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมึกกล้วย หมึกหอม กุ้ง ปู และปลาทะเลหลายชนิดเช่น ปลาอินทรี ปลาเก๋าดอกแดง ปลาทู ปลากะพง เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบที่ทำการหามาได้นั้นจะมีความสดเป็นอย่างมาก เพราะการจับสัตว์น้ำขึ้นมาได้ ก็จะมีการคัดแยกชนิด จัดเก็บลงห้องน้ำแข็ง เพื่อรักษาความสดของอาหารทะเลจนกว่าเรือจะเข้าฝั่ง จากกระบวนการการคัดแยกที่จัดเก็บที่กล่าวมาจึงเป็นเทคนิคและเคล็ดลับในการคงสภาพความสดของวัตถุดิบ

อาชีพประมงและพ่อค้าคนกลาง

        โดยคุณชุตินันท์ได้เล่าว่าเดิมทีเลย ชาวประมงแทบจะทุกรายเมื่อทำการออกเรือเสร็จก็จะขายสัตว์ทะเลที่หาได้มาให้กับแพปลาซึ่งแพกลางนี้จะเป็นตัวกลาง (แต่ไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง) ในการรับซื้อสัตว์น้ำหรือสัตว์ทะเล, ทำการขายปลาให้ชาวประมง ในบางครั้งแพกลางจะเป็นตัวกลางช่วยติดต่อโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อส่งขายอาหารทะเลต่ออีกทอดหนึ่ง รวมถึงเป็นตัวแทนในการเก็บเงินจากพ่อค้า, แม่ค้าหรือพ่อค้าคนกลาง ทั้งรายใหญ่และรายย่อยให้เจ้าของเรืออีกด้วย จากการที่เห็นกระบวนการหรือเส้นทางของอาหารทะเล ทำให้ตนคิดได้ว่ากว่าอาหารทะเลจะถึงมือผู้บริโภคนั้น จะต้องผ่านมือพ่อค้าหรือแม่ค้าหลากหลายคน เช่น จากชาวประมงส่งมาขายที่แพปลา จากนั้นพ่อค้าแม่ค้ามาซื้อที่แพปลา แล้วนำไปส่งพ่อค้าคนกลางคนที่ 1 2 3 จากนั้นนำไปแปรรูปและจัดส่ง สุดท้ายถึงได้ถึงมือผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งกว่าจะถึงมือผู้บริโภค ก็จะผ่านกระบวนการส่งต่อหลายทอดโดยใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ทำให้คนที่จะกินอาหารทะเลมักได้ทานอาหารทะเลในราคาสูงเพราะผ่านการบวกเพิ่มหลายต่อ อีกทั้งคุณภาพของอาหารทะเลที่ได้นั้นลดลง เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลายาวนาน (หลักสิบวัน) กว่าอาหารทะเลจากเรือประมงจะถึงมือผู้บริโภค


ที่มาของ Mantalay (มันทะเล)

        คุณชุตินันท์ เล่าว่าจุดเริ่มต้นของ Mantalay มาจากที่คุณกิติศักดิ์สามีของตนนั้นเป็นเจ้าของเรือประมงเอง จึงคิดและหาทางที่อยากจะลดเส้นทางของพ่อค้าคนกลางลง โดยใช้เส้นทางลัดจากเรือประมง (ผู้ผลิต) ไปถึงลูกค้า (ผู้บริโภค) โดยตรง โดยตนนั้นเห็นถึงความได้เปรียบที่มีคือการเป็นเจ้าของเรือประมงอยู่แล้วทำให้มีจุดแข็งคือความสดของอาหารทะเล โดยจะเลือกและเน้นปลาทะเลหรืออาหารทะเลที่สดจริงๆ เท่านั้น และทำการจัดส่งเองผ่านขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (interexpress logistics หรือ Nim Express) สินค้าที่ส่งก็จะถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปที่พ่อค้าคนกลาง ทำให้ลูกค้าได้อาหารทะเลที่สดและไม่ถูกบวกราคาเพิ่มจากพ่อค้าคนกลางอีกด้วย
        ทั้งหมดที่กล่าวมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการกำเนิดของเพจ Mantalay (มันทะเล) เพจมันทะเลจึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยเริ่มจากการขายอาหารทะเลในช่องทาง Facebook ส่วนตัวก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นก็เปลี่ยนไปเป็นเพจสาธารณะเพื่อให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น มีเป้าหมายคือมุ่งเน้นจำหน่ายอาหารทะเลจากเรือประมงของตนเองเท่านั้น โดยมีสินค้าให้ผู้บริโภคได้เลือกหลากหลายนับสิบชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลาทะเล เช่น ปลาอินทรี ปลาทู ปลากะพง ปลาเก๋าดอกแดง ปลาช่อนทะเล ปลาเต๋าเต้ย (บางฤดูกาล) ปลาจะระเม็ดขาว (บางฤดูกาล) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกุ้งแช่บ๊วย กุ้งลายเสือ หมึกกล้วย หมึกหอม กั้งกระดาน ปูม้า หอยเชลล์ เป็นต้น โดยสัตว์ชนิดพิเศษบางอย่างก็จะมีขายตามฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งสินค้าทะเลที่ขายให้กับลูกค้าจะทำตามคอนเซ็ปต์ที่ตั้งไว้คือ “สดกว่านี้กินในทะเล” เนื่องจากสินค้าของทางร้านการันตีความสดใหม่ที่สดมาก!! ขายแบบล็อตต่อล็อต อีกทั้งอาหารทะเลทุกชนิดที่จะส่งลูกค้าได้ผ่านกระบวนการควบคุมอุณหภูมิในทุกขั้นตอน ปลาบางชนิดจะกึ่งแปรรูปมาตั้งแต่ในทะเลเพื่อคงความสดของอาหาร เช่น ปลาเก๋า ปลากระพง ทางร้านจะทำการล้วงเหงือกและไส้ออกตั้งแต่ในทะเลเพื่อไม่ให้เกิดแบคทีเรียในท้องหรือลำไส้ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวกำเนิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในปลา หรือหมึกต่างๆ ทางร้านจะเอาดีหมึกสีดำและทำการเจาะตาออกเพื่อให้เกิดความง่ายในการที่ลูกค้านำไปประกอบอาหาร อีกทั้งยังมีกระบวนเก็บรักษาอาหารทะเลในตู้ฟรีสแข็งอุณหภูมิต่ำกว่า -20 เซลเซียส ตั้งแต่ในเรือประมงเพื่อรักษาความสดจนกว่าจะถึงมือลูกค้า ทั้งหมดทั้งมวลที่ทำเพราะจุดมุ่งหมายของทางร้านที่ต้องการให้ผู้บริโภคได้รับวัตถุดิบที่ดีและสดที่สุด โดยผ่านมาตรฐานของความปลอดภัย

Mantalay ใส่ใจผู้บริโภคอย่างไร?

        คุณชุตินันท์ เล่าว่าคนเราส่วนมากชอบทานอาหารทะเล ชอบปรุงอาหาร แต่ปัญหาหรือความยากในการประกอบอาหารทะเลในมื้ออาหารนั่นคือ “การที่เราทำหมึกหรือทำปลาอย่างไร ให้วัตถุดิบนั้นพร้อมปรุงหรือพร้อมจะลงกระทะนั่นเอง” ปัญหาหรือความยากนี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับครอบครัวที่มีแม่บ้าน มีแม่ครัวที่ช่วยในการเตรียมวัตถุดิบให้ เพราะบุคคลเหล่านั้นเขามีทักษะ มีความชำนาญที่จะเตรียมการแปรรูป หรือทำปลาแยกชิ้นส่วนให้เราได้ แต่ถ้าในมุมกลับกัน ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในคอนโด หอพัก หรือครอบครัวที่เป็นครอบครัวขนาดเล็กๆ เช่น ภรรยาทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน งานนี้ก็จะเริ่มยากและดูจะเป็นปัญหาได้ จึงอยากให้ลองนึกภาพตามและคุณชุตินันท์ ยังได้ยกตัวอย่างอีกว่าสมมุติว่าซื้อปลามาจากตลาดสด หรืออาจจะสั่งออนไลน์มา แล้วได้ปลาเก๋า ขนาดสัก 1-2 กิโลมาเป็นตัว โดยไม่มีการหั่นหรือแร่มาให้ การที่จะนำปลานั้นไปประกอบอาหารได้ก็ต้องผ่านการเตรียมวัตถุดิบคือมีทั้งการขูดเกล็ดปลาทิ้ง ควักเครื่องในออก ล้างทำความสะอาด ซึ่งเสียเวลานานและยากต่อการทำ ที่สำคัญคือเลอะเทอะห้องครัวไปหมดทำให้ต้องมาลำบากเก็บกวาดอีก และการจะเตรียมวัตถุดิบได้นั้นต้องมีทักษะความชำนาญในการทำปลาระดับนึง ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ทุกคน และยิ่งการทำปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีความจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการตัดหัวปลา มีดสับ ขวาน มีดตัด มีดแล่ ชำแหละ เเล่เนื้อ ถ้าเราทำไม่เป็น เราอาจจะทำแล้วเสียของ ไม่คุ้มค่า หรือเราอาจจะต้องทิ้งชิ้นส่วนบางอย่างไปเลย หรือให้ลองนึกภาพตามอีกสักหน่อย สมมุติว่าเราซื้อหมึกกล้วยมาสัก 1 กิโล มีประมาณ 10-15 ตัว ในการเตรียมหมึกกล้วยนั้นจะต้องเริ่มที่การถอดหัวหมึกออก ตามด้วยการเอาดีหมึกสีดำออก (ขั้นตอนนี้เรียกว่าขั้นปราบเซียนเลยก็ว่าได้) ถ้าทำไม่เป็นหรือไม่ดีพอ ดีหมึกก็จะออกไม่หมด ปนเปื้อนสีดำไปกับมื้ออาหาร หรือบางทีเอาออกแล้วกลายเป็นน้ำดีหมึกดำเลอะเทอะไปหมด ทำให้สกปรกเสื้อผ้าหรือห้องครัวสวยๆ ได้ ไหนจะต้องเอาตาออก เอาฟันออก บางคนทำไม่เป็นก็ต้องทิ้งไปทั้งหัวทำให้เสียวัตถุดิบไปฟรี ซึ่งคุณชุตินันท์ เล่าด้วยความรู้สึกเสียดายในวัตถุดิบจากหัวอกคนทำอาชีพประมงเลยทีเดียว

        จุดเด่นในการเก็บอาหารทะเลของ Mantalay คือจะทำการแพ็คอาหารทะเลทุกอย่างด้วยถุงสุญญากาศ เพราะถุงสุญญากาศจะช่วยเก็บรักษาคุณภาพของอาหารทะเลได้ดี ช่วยป้องกันการเกิด freeze dry (ภาวะเนื้อแห้งหรือสูญเสียความชุ่มชื้น) และยังช่วยให้สามารถเก็บรักษาอาหารทะเลในตู้ฟรีสแช่แข็งได้นานมากเป็นหลักเดือนถึงหลักปีได้เลย ทาง Mantalay จึงสร้างคอนเซ็ปต์ในการขายอาหารออนไลน์เอาไว้ว่า “เราจะไม่ส่งปลาให้ลูกค้าเป็นตัวๆแบบมีเกล็ดไว้ เมื่อของถึงมือลูกค้าก็จะเป็นภาระอีก เราเน้นให้ลูกค้าที่ซื้ออาหารทะเลของเราไปแล้วเกิดความง่ายในการประกอบอาหาร เราจะแบ่งอาหารทะเลเป็นส่วนน้อยๆแบบพอดีทานในมื้อ” สินค้าของ Mantalay แทบจะทุกรายการจึงเป็นแบบพร้อมในการปรุง (ready to cook) คือทำให้เสร็จแทบจะพร้อมลงหม้อ

• หมึกกล้วย จะแบ่งเป็นน้ำหนักปริมาณ 500 กรัม เพื่อให้ลูกค้าทานให้หมดได้ใน 1-2 มื้อ หมึก มีการเอาดีหมึกสีดำเอาตา เอาฟัน ออกให้หมดเรียบร้อย ลูกค้าได้รับไปสามารถเอาออกจากตู้เย็นหรือตู้ฟรีสออกมาและทำการฉีกซองพลาสติกสุญญากาศออก ตัดแบ่งเป็นชิ้นพอดีคำ เพียงแค่เท่านี้ก็พร้อมลงหม้อได้เลย
• ปลาเก๋าดอกแดง ถ้าลูกค้าซื้อยกตัวและมีความประสงค์ให้ทางร้านแล่แยกชิ้นส่วนให้ ทางร้านจะบริการลูกค้าทำให้แบบเบ็ดเสร็จ คือ ขูดเกล็ดออก แล่เนื้อออก ตัดเนื้อออกเป็นชิ้นๆ ขนาดพอดีมื้ออาหารโดยมีน้ำหนักพอดีจาน เช่น ปริมาณ 300 -500 กรัม หรือแล้วแต่ลูกค้าจะสั่ง ก้างปลา หัวปลา ทางร้านก็จะสับเป็นชิ้นๆ เล็กๆให้ ลูกค้าก็นำไปปรุงเป็นน้ำซุปต้มยำได้ เนื้อแล่เราก็จะแพ็คใส่ถุงแยกชิ้นเดี่ยวๆ ให้ลูกค้า เวลาลูกค้าต้องการจะปรุงอาหารก็นำออกมาตามปริมาณที่ต้องการจะทาน ไม่ต้องเอาออกมาทั้งตัว จะเห็นได้ว่าทางร้านนั้นจะนำปลาทั้งตัวมาแร่และเก็บรักษาเพื่อใช้ในการปรุงอาหาร โดยไม่มีส่วนเสียหายใดๆ เลย จะทานได้ทุกชิ้นส่วนแม้แต่หัว ก้าง ก็ปรุงน้ำซุปได้อีกด้วย
• ปลาอินทรีสด สินค้าพระเอกของเพจ Mantalay อีกชนิดหนึ่ง อันนี้ต้องบอกตามตรงว่า ปลาชนิดนี้เนื้ออร่อยมาก แต่จะมีลักษณะพิเศษของปลาชนิดนี้คือ ลำตัวยาวมากๆ (ขนาด 4-5 โล มีความยาวลำตัวถึง 1 เมตรกว่าๆ) เพราะฉะนั้น ถ้าใครซื้อปลาอินทรีไป 1 ตัวแบบเป็นตัวยาวๆ ไปแล้วที่บ้านไม่มีตู้ฟรีส ตู้เย็นขนาดใหญ่ๆ รับรองได้เลยว่าการจะเก็บปลาตัวนี้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ดังนั้นเพจมันทะเลจะเน้นแล่และทำการหั่นเป็นชิ้นๆ แบบแว่นให้ลูกค้าในลักษณะพร้อมปรุง เพื่อที่ลูกค้าจะได้จัดเก็บได้สะดวก ง่ายต่อการนำมาประกอบอาหาร ทีมงานของทางร้านจะหั่นแว่นปลาด้วยเครื่องเลื่อยตัดกระดูก เพราะฉะนั้น ปลาที่หั่นแว่นได้มาจะเป็นชิ้นที่มีรอยตัดที่สวยงาม เป็นแว่นที่สามารถกำหนดความหนาได้ตามที่ลูกค้าต้องการ สามารถตัดได้ในขณะที่ปลายังแข็งโดยไม่ต้องทำการละลายเนื้อปลาให้เสียคุณภาพ ซึ่งเราจะแพ็คซีลแยกชิ้นแว่นเดี่ยวๆ ให้ลูกค้าใส่ถุงสูญญากาศเป็นชิ้น ชิ้นละ 1 ถุง ลูกค้าได้รับปลาไปก็ง่าย สะดวก ไม่เลอะเทอะ ไม่ต้องทำอะไรให้มากมาย เก็บในตู้เย็นรุ่นที่มี 2 ประตูก็สามารถเก็บในช่องฟรีสได้เพียงพอ เวลาจะนำปลาออกมาประกอบอาหารก็นำออกมาเพียง 1-2 ชิ้น ที่พอดีจะทาน ที่เหลือก็เก็บไว้ทานในมื้ออื่น

ความในใจจาก Mantalay (มันทะเล) ถึงผู้บริโภค

        คุณชุตินันท์ เล่าว่ามีลูกค้าท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลกับเพจมันทะเลว่า ได้ทานอาหารทะเลที่ซื้อมาจากร้านทั่วไปที่อื่นพบว่ามีอาการผื่นคัน แดง รู้สึกว่าแพ้ แต่รับประทานอาหารจากเพจมันทะเลแล้วไม่เป็นอะไรเลย สามารถทานได้โดยปกติ แอดมินของทางร้านตอบได้อย่างมั่นใจเลยว่า “ลูกค้าไม่ได้แพ้อาหารทะเล แต่ลูกค้าอาจจะแพ้สารเคมีหรือสารปรุงแต่งที่ใส่เข้าไปกับอาหารทะเลเพื่อคงความสดของอาหารครับ” อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของครอบครัวเพจมันทะเล คือการทำอาหารในคอนเซ็ปต์ที่ว่า “สดกว่านี้กินในทะเล” คือ สินค้าต้องสด ใหม่ สะอาด และปลอดภัย ไร้สาร ลูกค้าทานได้อย่างปลอดภัย ทางร้านจึงอยากจะบอกผู้บริโภคทุกท่านว่า “เราต้องการส่งมอบความรู้สึกดีเช่นนี้ให้ลูกค้าได้รับรู้ว่า ไม่ใช่อาหารทะเลจากที่ไหนก็เหมือนกัน เราต้องการทำอาหารทะเลให้ลูกค้าเหมือนกับที่เราทำให้คนในครอบครัวได้ทาน” ทางร้านยังบอกอีกว่า “เราเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เราทำสินค้าในราคาที่ลูกค้ารู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปด้วยความที่ลองคิดในมุมของผู้บริโภคบ้างเหมือนกัน” Mantalay (มันทะเล)

Contact
Facebook : Mantalay–มันทะเล
Instagram : mantalay_seafood
Tiktok : @Mantalay_seafood

Facebook : https://www.facebook.com/Mantalay55 Instagram : https://instagram.com/mantalay_seafood?igshid=YmMyMTA2M2Y=
TikTok
: https://www.tiktok.com/@mantalay_seafood?_t=8VTbDDQmMl8&_r=1