“ดร.หลวงพ่อแดง” ควง “บิณฑ์-เอกพันธ์” สร้างธนาคารน้ำใต้ดินที่วัดในจังหวัดสุรินทร์

          พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ,ดร. หรือหลวงพ่อแดงนันทิโย ประธานมูลนิธิวัดอินทาราม รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นำคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.)และคณะศิษย์ เดินทางไปยัง วัดหินเหล็กไฟ ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เพื่อเปิดโครงการธนาคารน้ำ และได้มอบปัจจัย จำนวน 20,000 บาท เพื่อต่อยอดสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน จากนั้น เดินทางไปยัง วัดป่าอาเจียง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เป็นประธานเปิด โครงการธนาคารชีวิตโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรผู้ยากไร้ และสนับสนุนในโครงการ อีก 10,000 บาท โดยภายในงานคุณบิณฑ์ และ คุณเอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ ได้ร่วมกิจกรรมสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน ในการนี้ หลวงพ่อแดง ยังได้มอบปัจจัยสนับสนุนผู้ยากไร้ให้อีก 10,000 บาท นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปีติสุขให้กับ ญาติ โยม สาธุชนทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
          พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ,ดร. เปิดเผยว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปีผลจากการดำเนินงานพบว่าปัญหาอุปสรรคประการหนึ่งของการเลี้ยงวัว สมาชิกจะขาดหญ้าสด ฟาง เนื่องจากหมู่บ้านส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่เพราะปลูกข้าวเพราะบ้านเรือนตั้งอยู่ริมป่าสงวนและมีภูมิศาสตร์เป็นคู่เป็นเนินการทำนาหวานไม่ค่อยได้ผล จึงทำให้การปลูกข้าวไม่ได้ผลและต้นทุนสูง แต่เกษตรกรก็ยังนิยมเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะโคกระบือในวงจรการทำนาพบว่านอกจากการทำนาในพื้นที่สูงไม่สามารถปลูกข้าวได้อย่างมีคุณภาพการปลุกพืชผักอย่างอื่นก็ ยังขาดน้ำซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการเกษตรและปศุสัตว์ หากโคกระบือขาดน้ำ ก็ทำให้การทำอาชีพปศุสัตว์ยิ่งยากลำบากขึ้น
          พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ,ดร. บอกว่า จากการสอบถามชาวบ้านหินเหล็กไฟ
ชาวบ้านโคกกุงและหลายๆ หมู่บ้านในแถบนี้ ประกอบด้วยชาวบ้านในพื้นที่ตำบลกระโพและตำบลบะของ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ต่างให้ข้อมูลว่าถ้าขาดน้ำแล้วก็ ไม่สามารถประกอบอาชีพหลักไม่ว่าจะเป็นทำนาทำสวนและการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นน้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตคนและสัตว์ โครงการขุดหลุมดินเพื่อทำธนาคารเก็บน้ำไว้ใต้ดินจึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรโดยเฉพาะในฤดูนี้ฤดูฝนเมื่อปริมาณน้ำฝนตกลงมาสู่พื้นดินสภาพของทำเลชุมชนที่อยู่ในที่สูงและลักษณะธรณีวิทยาเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำการจัดทำหลุมดินเก็บกักน้ำเพื่อเป็นธนาคารน้ำ ไว้ใต้ดินในระดับครัวเรือน จึงริเริ่มขึ้นมาก่อนเพราะว่าน้ำบริโภคน้ำอุปโภคน้ำชักชะล้างสามารถนำไปกักเก็บในหลุมธนาคารดินในระดับบ้านเรือนได้
          มูลนิธิวัดอินทาราม จึงทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อสมาชิกเลี้ยงวัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขุดหลุมดินทำธนาคารน้ำในบ้านสมาชิกธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ แก้ปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังและน้ำทิ้งกลายเป็นน้ำเสียในชุมชน และสร้างพลังคนในชุมชนทำงานเป็นจิตอาสาด้วยหลักการบวร โดยมีสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัว หลวงพ่อแดงมีธนาคารน้ำใต้ดินในครัวเรือนอย่างน้อย 1 หลุม, วัดในชุมชนมีธนาคารน้ำใต้ดินในวัดอย่างน้อย 5 หลุม ซึ่งทำให้สมาชิกเลี้ยงวัวธนาคารกลัวหลวงพ่อแดงสังกัดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงมีธนาคารน้ำใต้ดินทุกครัวเรือน ไม่มีหลุมน้ำขังและยางรถยนต์ขวดขยะทิ้งจากของเหลือใช้ที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทำให้สภาพแวดล้อมในชุมชนสะอาดและลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ ลดปริมาณขยะที่ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายในระยะยาวได้แก่ขยะที่มีอายุในการย่อยสลาย 10 ปี 20 ปี และเกิดความสามัคคีในชุมชนและความร่วมแรงของสถาบันศาสนาและธนาคารน้ำใต้ดินจะเป็นกลวิธีการดำเนินงานการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างมีทิศทางในการพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป
00000000000000000000000000