เชื่อว่าใครหลายคนพอเริ่มทำงานไปซักพักและเริ่มมีเงินเหลือเก็บออมก็อาจจะมีคำถามว่าเก็บเงินยังไงดี? เก็บเท่าไหร่ดี? เก็บที่ไหน? นำไปลงทุนอะไรดี? บางคนจึงอาจจะสอบถามจากคนรอบตัว คนในที่ทำงานว่ามีวิธีเก็บออมเงินกันอย่างไร และนำมาเป็นแบบอย่างและปฏิบัติต่อๆ กันมา โดยมีความเข้าใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูกต้องแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า การนำเงินไปฝากประจำเป็นวิธีเก็บที่ดีและปลอดภัยมากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว การฝากประจำเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลตอบแทนอย่างที่เราตั้งใจเสมอไป เพราะอย่าลืมว่าเงินฝากก็สามารถเจอกับภาวะเงินเฟ้อได้เช่นกัน แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่นอกจากจะไม่ได้วางแผนแล้ว ที่ผ่านมายังใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ ไปกินข้าว ดูหนัง จัดทริปท่องเที่ยวสุดพิเศษ หรือช้อปปิ้งทุกสิ่งที่ต้องการ เรียกว่าเปย์ตัวเองแบบจัดเต็ม เพราะใช้จ่ายเพลินเกินไปจนขาดสติ ทำให้สภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับเดือนชนเดือน พอเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สถานการณ์ โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเงินส่วนบุคคลของคนไทยอย่างหนัก และคนส่วนใหญ่ไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้เนื่องจากในระบบการศึกษาของไทยนั้นไม่มีการเรียนการสอนหลักสูตรการวางแผนการเงินเบื้องต้น ชีวิตจะมีความมั่งคั่งถ้าวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ หากยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นยังไง วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับ “วิธีวางแผนการเงิน” จากผู้รู้ นั่นก็คือ “คุณศิริพร ศิริพราหมณกุล” มาฝากกัน หากเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้เตรียมตัวรับมือได้ทันเวลา พร้อมปูทางสร้างอิสรภาพทางการเงินตลอดชีวิตคุณ “คุณศิริพร ศิริพราหมณกุล” จบปริญญาตรีและทำงานด้านการโรงแรม การบริการ และเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยก่อนหน้านี้รายได้จากการทำงานจะเก็บโดยการซื้อประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว เพราะไม่รู้ว่าจะจัดการเงินอย่างไร FA ที่ Consult ในขณะนั้นจึงชวนเข้ามาในอาชีพและแนะนำให้เรียน Certified Financial Planning (CFP) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานที่ใช้กันในระดับสากล เป็นการวางแผนการเงินแบบองค์รวม มี 6 แผน ประกอบด้วย การวางแผนค่าใช้จ่าย การวางแผนภาษี การวางแผนจัดการความเสี่ยง การวางแผนลงทุน การวางแผนเกษียณ และการวางแผนมรดก ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีรายละเอียดเนื้อหามากมาย จึงได้สรุปเทคนิคแผนค่าใช้จ่ายและการออมเบื้องต้นที่เป็นรากฐานสำคัญที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้เลย ได้แก่1. จดบัญชีรายรับ รายจ่าย สำรวจพฤติกรรมค่าใช้จ่าย2. สำรองสภาพคล่อง 6 เท่าของรายจ่ายไว้ใน เงินออมในบัญชีออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ กองทุนรวมตลาดเงิน ครบแล้วถึงนำไปลงทุนอื่นๆ ตามเป้าหมาย3. ชำระค่าบัตรเครดิตเต็มจำนวน ต้องไม่จ่ายแค่ขั้นต่ำ ตรงนี้สำคัญมากๆ 4. ออมเงินให้ได้ อย่างน้อย 10% ของรายได้ ถ้ามีไม่ถึงให้กลับไปสำรวจรายจ่าย เลือกลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น5. การผ่อนจากการกู้ยืมอาทิเช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ รวมไม่ควรเกิน 45% ของรายได้6. การลงทุนควรกระจายความเสี่ยงหลายๆ สินทรัพย์ ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ควรนำไปลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด หลังจากที่ได้เรียนจึงเกิดความชอบเพราะรู้สึกมีประโยชน์มากๆ จึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาการเงิน และตัดสินใจสอบ CFP เพราะอยากจะมาทำอาชีพนี้ โดยมีความตั้งใจว่าอยากให้คนไทยรู้จักการจัดการการเงินแบบเป็นระบบ อยากให้คำปรึกษาที่เป็นมาตรฐานตามหลักสากล ซึ่งคุณศิริพรมีความสุขทุกครั้งที่สามารถช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้นและมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ครั้งแรก ลูกค้าที่เคยเรียนก่อนหน้านี้โชคร้ายไม่มีงาน หลายท่านจึงมาขอบคุณที่ทำให้ตนได้มีการเตรียมการและมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ในช่วงนั้นจึงไม่ได้รับความเดือดร้อนกันมากนัก นอกจากนี้ “คุณศิริพร ศิริพราหมณกุล” ยังได้ให้คำแนะนำว่าการวางแผนต้องกำหนดเป้าหมายทางการเงินก่อนว่าเราต้องการอะไรบ้าง เช่น ต้องการมีเงินใช้ตอนเกษียณอายุเดือนละ 30,000 บาท ซึ่งคิดแบบเล่นๆ ว่าถ้าตอนนี้อายุ 40 ปี แล้วต้องการเกษียณอายุ 60 ปี หากคาดคะเนว่าตัวเองจะมีอายุยืนถึง 80 ปี ถ้ายังไม่มีเงินเก็บเลยต้องเก็บเดือนละ 30,000 บาทเป็นอย่างน้อย ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ลองคิดกัน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่ได้คิดรวมอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย ห้ามพลาด! หากว่าใครที่ต้องการบริการวางแผนการเงินรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น บริหารค่าใช้จ่าย บริหารภาษี วางแผนการเกษียณ จัดพอร์ตการลงทุน วางแผนจัดการความเสี่ยง วางแผนมรดก ต้อง “คุณศิริพร ศิริพราหมณกุล” นักวางแผนการเงิน CFP®ให้คำแนะนำโดยยึดผลประโยชน์ผู้รับคำปรึกษาเป็นหลัก หากแนะนำผลิตภัณฑ์ใดๆ จะต้องคุ้มค่าและสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาววางแผน Cashflow ให้ 20 ปี หลังเกษียณเป็นอย่างน้อย บอกเลยว่ามาที่นี่ ครบ จบในที่เดียว สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมTel : 09-6969-8935 เวลาทำการ : เปิดทำการทุกวัน เวลา 08.30 – 20.00 น. Website : https://www.tfpa.or.th/ListMember