เรียนรู้การเป็นผู้นำที่มาพร้อมทักษะในการพาทีมไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วยทักษะ “การบริหารให้ตรงจุด สื่อสารให้ตรงใจ”

       การที่จะเป็นผู้นำได้ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะมีปัจจัยต่างๆ ให้ท้าทาย การกำหนดทิศทางของเป้าหมาย และบริหารคนให้ทำงานเป็นไปตามผลลัพธ์ที่วางไว้อย่างไม่มีสะดุด ก็เป็นความท้าทายที่ไม่ง่ายเลย ยิ่งในยุคนี้ที่ทีมงานมีความหลากหลายของช่วงวัย ความคิด และรูปแบบการทำงาน

       ถ้าคุณเป็นคนนึงที่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองมีทักษะความเป็นผู้นำมากพอที่จะนำทีมหรือองค์กรให้ประสบความสำเร็จหรือยัง ไม่ต้องกังวลไปเพราะวันนี้ทางเรามีผู้ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำของคุณ โดยท่านนี้เป็นอาจารย์ที่หลายองค์กรต่างให้ความไว้วางใจ

      “อาจารย์วราลักษณ์ สมัญญากุล (ครูแอน)” ที่ปรึกษาภาพลักษณ์และพัฒนาศักยภาพบุคคล แห่งบริษัท อิมเมจ พาวเวอร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด ที่มีเทคนิคการอบรมที่แตกต่าง โดยนำศาสตร์ด้านภาพลักษณ์/บุคลิกภาพมาผสานใช้กับศาสตร์จิตวิทยาการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม และยังทำให้ผู้นำ ผู้บริหาร รวมถึงระดับหัวหน้างาน เรียนรู้ความแตกต่างของทีมงานแต่ละคนได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

      ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจและเรียนรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี รวมถึงทักษะที่ผู้นำพึงจะมีในยุคนี้ ว่าแบบไหนถึงจะสามารถนำทีมไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้นำในยุคนี้ แตกต่างกับยุคก่อนยังไง?
    แน่นอนว่าเราจะนำภาพลักษณ์และวิธีการบริหารคนของผู้นำในอดีตกับปัจจุบันมาวัดเทียบกันว่าแบบไหนดีกว่ากันก็คงไม่ได้ แต่สำหรับการจะเป็นผู้นำในยุคนี้ ต้องไม่ใช่คนที่คอยแต่ออกคำสั่ง กำกับควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ แต่ผู้นำต้องเป็นคนเก่งที่รู้เทคนิควิธีทำให้ทีมเก่งตามไปด้วย สามารถดึงศักยภาพของพนักงานแต่ละคนออกมาให้ได้มากที่สุด และรู้จักอุปนิสัย รวมถึงความถนัดของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน เพื่อนำมาปรับใช้ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้คนในทีมทำงานด้วยความเต็มใจ เพื่อขับเคลื่อนทีมให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับความสุขอย่างยั่งยืน

ทักษะและบุคลิกภาพสำคัญของผู้นำที่ดี ควรมีอะไรบ้าง?
    การจะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น หากเพียงแต่ใช้ความมุ่งมั่นและประสบการณ์ความสำเร็จจากอดีต ทำทุกอย่างเพื่อให้งานออกมาดี ก็อาจจะขับเคลื่อนทีมและองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ แต่หากมีทักษะที่จะพูดถึงต่อไปนี้จะช่วยให้คุณและลูกน้องทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และให้ผลลัพธ์ที่บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

  • เป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด
         Deep Listening การฟังที่ย้ายตัวเองไปอยู่ฝั่งผู้พูด เพื่อลงลึกไปถึงความรู้สึก ได้เห็นที่มาของกระบวนความคิดของผู้พูด นอกจากนี้การฟังยังจะทำให้ผู้นำอาจมองเห็นปัญหาที่กำลังจะเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยในการวางแผนป้องกัน หรือหากปัญหานั้นเกิดขึ้นแล้วแต่ไม่ได้รับแจ้ง การฟังจะทำให้ผู้นำสังเกตถึงความผิดปกติภายในทีมและแก้ไขได้โดยเร็ว ป้องกันการเกิดปัญหาที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต
  • ฝึกตั้งคำถาม
         คำถามที่ดี คือคำถามที่ให้สิทธิ์ผู้ตอบได้มีโอกาสเผยความรู้สึก แสดงที่มาของความคิดและพฤติกรรมที่แท้จริง โดยไม่รู้สึกว่าพูดไปแล้วจะผิด ผู้นำควรฝึกตั้งคำถามปลายเปิด และใช้การถามเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงกับทีมงานแต่ละคนให้เป็นประจำ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการทำงาน
  • เปิดรับความคิดต่าง
         ผู้นำต้องเข้าใจว่าคนเรามีความแตกต่าง บางคนใช้สมองซีกเหตุผลนำ บางคนใช้ฝั่งอารมณ์แก้ปัญหา เพราะทุกคนมีพื้นฐานครอบครัว การเลี้ยงดู วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งวิธีคิดและรูปแบบการทำงานไม่เหมือนกัน (บางครั้งจึงไม่ได้ดั่งใจผู้นำ) เมื่อเข้าใจความต่างแล้ว ผู้นำควรเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพที่แตกต่างของคนแต่ละประเภท เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในงานที่ดี อีกทั้งควรทำให้ที่ทำงานเป็นพื้นที่ปลอดภัย สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายบนเป้าหมายเดียวกันได้ 
  • ใช้สมองฝั่งเหตุผลสมดุลกับฝั่งความรู้สึก
        การเป็นผู้นำ ต้องรู้จักใช้อำนาจด้วยเหตุผล รับฟังความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกับคนในทีม ขณะเดียวกัน ในบางกรณีที่เหตุผลแก้ไขไม่ได้ทั้งหมด ผู้นำจำเป็นต้องรู้วิธีใช้ความรู้สึกมาทำความเข้าใจ “คนและปัญหา” นั้นแทน มนุษย์ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ การที่ทีมงานอยากจะตื่นมาทำงาน และเดินไปพร้อมกับผู้นำ การรู้สึกสบายใจ มั่นคง คือปัจจัยหนึ่งที่ละเลยไม่ได้
  • มีบุคลิกภาพมืออาชีพ แต่เข้าถึงได้
         คุณคงไม่อยากเป็นผู้นำที่บุคลิกภาพดูดี เนี้ยบ เก่ง แต่ลูกน้องกระเจิงไม่มีใครกล้าเข้าหา เราสามารถเป็นผู้นำที่มีเสน่ห์ ใครๆ ก็อยากพูดคุยปรึกษาขอคำแนะนำจากเราได้ พร้อมยังให้ความเคารพศรัทธา ด้วยการมีบุคลิกภาพแบบเปิดหรือแบบเชิงรุก โดยหมั่นสนใจใคร่ถามลูกน้องเกี่ยวกับอุปสรรคที่พวกเขากำลังเจอ แนวทางที่เขาวางแผนแก้ไข และสิ่งที่ต้องการให้ผู้นำช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “ความใส่ใจ” เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพการแสดงออกที่เกิดมาจากความคิดภายใน
             สิ่งนี้จะทำให้ลูกน้องรู้สึกเข้าถึงได้ การหมั่นพูดคุยกับทีมงาน นอกจากเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัย และสร้างความสัมพันธ์ในทีมแล้ว ยังกระตุ้นศักยภาพการทำงานของทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มั่นใจในตัวเอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในทีม
         การจะทำให้ใครรู้สึกมั่นใจและไว้วางใจในตัวคุณ คุณต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองเสียก่อน เพื่อให้คนในทีมไม่เกิดความลังเลต่อผลลัพธ์ จากการกระทำและการตัดสินใจของคุณ
  • กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
         ในยุคนี้การทำงานแบบเดิมอยู่ในเซฟโซน อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องการก้าวหน้าขององค์กรสักเท่าไหร่ การเป็นผู้นำที่กล้าจะเปลี่ยนแปลงหรือลองวิธีใหม่ๆ แม้อาจจะมีความเสี่ยงที่ไม่บรรลุเป้าหมาย แต่การลองทำอะไรที่แตกต่างจากเดิมด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบ แม้ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร คุณจะเป็นผู้นำที่กล้าลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง และเป็นแบบอย่างให้กับทีมงานในการกล้าค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานให้มีพัฒนาการยิ่งขึ้น
  • หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ
         ทุกธุรกิจล้วนมีการแข่งขัน หากคุณยังเป็นผู้นำที่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ คุณอาจกำลังทำให้องค์กรของคุณล้าหลังกว่าองค์กรอื่น ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำ ควรจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่และอัพเดททักษะที่มีอยู่แล้วเพิ่มเติม เพื่อเตรียมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 

ผู้นำแบบมีเสน่ห์คือยังไง?
       นอกจากภาพลักษณ์ภายนอกและการแสดงออกอย่างมืออาชีพแล้ว เสน่ห์ของผู้นำจะรวมไปถึง ความคิด ทัศนคติ มุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึงการให้เกียรติผู้อื่นด้วย เพราะมนุษย์จะชอบอยู่ใกล้หรือมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามคนที่เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ เชื่อใจ ไว้ใจ

       ดังนั้น การเป็นผู้นำไม่เพียงต้องเก่งมีความสามารถ แต่ต้องทำให้ทีมงานรู้สึกเป็นพวกเดียวกันกับเรา ผู้นำที่มีเสน่ห์จึงไม่ผลักปัญหา แต่ต้องเป็นที่พึ่งพา และหาวิธีการช่วยแก้ปัญหาอย่างจริงใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญ ที่สร้างเสน่ห์ให้กับผู้นำ ทำให้ลูกน้องรักและเคารพศรัทธาพร้อมอยากให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มใจ
      “ไม่ต้องพูดให้จำ แต่ทำให้ดู” คือ บทสรุปที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนของผู้นำที่มีเสน่ห์

ทำไมทักษะการสื่อสาร ถึงสำคัญพอๆ กับความเก่ง? 
    ทักษะการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการฟัง ก็เป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้และหมั่นฝึกฝน ไม่แพ้ทักษะในด้านอื่นๆ ในส่วนทักษะการฟังที่ดีถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำงานเป็นทีม และการเข้าสังคม เพราะช่วยลดความเข้าใจผิด และความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
       ส่วนทักษะการพูดหรือส่งสารก็เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของผู้นำ อย่างสุภาษิตที่ว่า "คำพูดเป็นนาย" เพราะต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ทุกครั้งก่อนจะส่งสารออกไป การส่งสารที่เป็นประโยชน์และตรึงใจคนฟัง ล้วนนำไปสู่ผลลัพธ์อันดีต่อผู้ฟังและผลงาน  

       สำหรับท่านใดที่อยากพัฒนาภาพลักษณ์และทักษะสู่การเป็นผู้นำที่ดี ทางเรามีหลักสูตรดีๆ จากอิมเมจ พาวเวอร์ คอนซัลแทนท์มาแนะนำ กับหลักสูตร “ผู้นำ 4 ทิศ บริหารให้ตรงจุด สื่อสารให้ตรงใจ” เป็นการอบรมพัฒนาทักษะผู้นำ ที่จะช่วยให้การทำงานระหว่างคนในทีมราบรื่น และประสบความสำเร็จ

    ยิ่งไปกว่านั้น! วันนี้ทางเรามาพร้อมกับโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะผู้ที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์นี้ ลดไปเลย 10% ทุกหลักสูตร ทั้งอบรมแบบ In-House Training และ Private Coaching (สงวนสิทธิ์เฉพาะท่านที่มีหลักฐานการอ่านบทความนี้เท่านั้น โปรโมชั่นหมดเขตแจ้งใช้สิทธิ์ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565)
Link : https://www.imagepowerconsultant.com/LeadershipDevelopment
 
บริษัท อิมเมจ พาวเวอร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด
www. imagepowerconsultant.com
ID Line : @valalak_imagepower
M.099-456-3224, 093-996-4165
Facebook Page : Image Power พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง by Valalak

Facebook : https://www.facebook.com/imagepowerconsultant/