ครั้งแรกกับ“อินดา พาเหรด 2022” (INDA Parade 2022) ในรูปแบบไฮบริด ภายใต้แนวคิด “UNBOUNDED REALITY” หรือ ความจริงใหม่ไร้ขอบเขต จัดแสดงโชว์ผลงานผ่านนิทรรศการประจำปีของนิสิตทุกชั้นปี จำนวน 320 ผลงานจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(International Program in Design and Architecture - INDA) เพื่ออวดศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนถึงการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ในการพัฒนาชิ้นงานต่างๆ ได้อย่างลงตัว สอดรับกับโลกดิจิทัล โดยมีอาจารย์ วิทยากร ชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ ร่วมบรรยายพิเศษ พร้อมคอมเม้นท์และให้ข้อเสนอแนะตลอดงาน ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (INDA) กล่าวว่า นิทรรศการการแสดงผลงานประจำปีของนิสิตหรือที่เรียกว่า อินดา พาเหรด (INDA Parade) จัดมาเป็นปีที่ 7 โดยในปีนี้ “อินดา พาเหรด 2022” (INDA Parade 2022) จัดขึ้นในรูปแบบไฮบริดครั้งแรก ที่ผสมผสานระหว่างการเข้าชมนิทรรศการบนพื้นที่จริงกว่า 1,500 ตรม. และรับชมในรูปแบบออนไลน์จากทุกที่ทั่วโลก พร้อมกับการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชั้นนำ มาร่วมแชร์ความรู้ และประสบการณ์ตรงจากทั่วโลก ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่จัดแสดงนิทรรศการให้อยู่ในโลกเสมือนจริง หรือ Virtual Reality (VR) เพียงอย่างเดียว “นิทรรศการแสดงผลงานจบการศึกษาประจำปีของนิสิตในทุกชั้นปี ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้วัดการเรียนรู้ทั้งหมดของนิสิตที่ผ่านมาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรบ้างตลอดปีการศึกษา ซึ่งผลงานจบการศึกษาของนิสิตทุกคน เป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึง ความทุ่มเท ความพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างเต็มที่ จึงเป็นที่มาการจัดงานอินดา พาเหรดขึ้น เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานจบของนักศึกษาทุกชั้นปีมาจัดแสดงและเผยแพร่สู่สายตาคนภายนอกให้ทุกคนได้รับชม ทั้งคนไทย ชาวต่างชาติ ตลอดจนเป็นแนวทางในการแนะนำคณะให้น้องๆ ระดับมัธยมได้เรียนรู้ ศึกษาข้อมูลหลักสูตรอินเตอร์ คณะที่อยากเรียนต่อ รวมถึงได้เข้ามาสัมผัสและเห็นผลงานจริง และบรรยากาศในการนำเสนอผลงานของตัวเองกับอาจารย์ต่างชาติอย่างเข้มข้น ผ่านจอและมัลติมีเดียเต็มพื้นที่ นับเป็นงานที่สะท้อนตัวตนของนิสิตและความเป็นอินดาอย่างแท้จริง INDA ถือเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรอินเตอร์ที่จะเป็นทางเลือกให้กับน้องๆ ที่สนใจอยากเข้ามาศึกษา” ผศ.ดร.สุรพงษ์ กล่าว “อินดา พาเหรด 2022” (INDA Parade 2022) ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด UNBOUNDED REALITY (ความจริงใหม่ไร้ขอบเขต) ประกอบด้วยกิจกรรม 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ นิทรรศการแสดงผลงานนิสิตเต็มพื้นที่ในอาคารจุฬาพัฒน์ 14 ชั้น 13 ชั้น 16 ผ่านโมเดลจริง ผสมผสานกับนำเสนอผลงานผ่านจอมัลติมีเดียพาโนรามา พร้อมแชร์ประสบการณ์กับคณาจารย์ชั้นนำจากต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ การตรวจผลงานนิสิตทุกชั้นปี (Final Review) เป็นการตรวจงานแบบไฮบริด รวมทั้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย Zoom และถ่ายทอดสดผ่าน Twitch เป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตนของหลักสูตร INDA ในการเสริมสร้างสอนให้รู้จักใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ให้กับนิสิต ผ่านการคอมเม้นท์ชี้แนะแนวทางผลงานจากคณาจารย์ ทั้งไทยและนานาชาติอย่างเข้มข้น โดยมุ่งเน้นให้นิสิต INDA ทุกคนต้องกล้าเปลี่ยน กล้าคิด กล้าออกแบบ และกล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น พร้อมปรับทัศนคติและมุมมองให้มีความเป็นสากลมากขึ้น สามารถออกแบบผลงานให้ตอบสนองความต้องการของตลาดนานาชาติได้ต่อไปในอนาคต ผศ.ดร.สุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานยังจัดให้มีการสัมมนาจากศิษย์เก่า INDA และกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมชั้นนำชั้นนำระกับโลก ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ตรง อาทิ THEN & NOW : THE PROJECTS THAT CHANGED THE WAY WE WORK โดยTwitee Vajrabhaya Teparkum (Department of Architecture), David Schafer (Studio Make) และMalina Palasthira (Design Qua), Charavee Bunyasiri (Primary Workshop) และ Pimpipat Hongdulaya, NEURAL ARCHITECTURE โดย Dr. Matias Del Campo และ INDA FACULTY TALK โดย Alexandra Polyakova และ James Roha Halliwell อีกด้วย ด้านนางสาวอัญภาวินี แลงเกนสกีโอล์ก นักศึกษาปีที่ อายุ 23 ปี ได้ให้ความเห็นในผลงานของตนเองที่นำมาแสดงว่า“อินดาเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่แค่การสอนด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนามุมมองของเราในฐานนักออกแบบในอนาคตด้วย ขณะที่ คณาจารย์ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดที่มีต่อสถาปัตยกรรมและสื่อที่สามารถนำเสนอผลงานของเราออกไป ยกตัวอย่างเช่นจากสื่อที่เป็นรูปแบบกายภาพไปสู่สื่อที่เป็นแอนนิเมชั่นและสื่อผสมผสานด้วย ที่สำคัญคือการมีสไตล์การสอนที่มาพร้อมกับอาจารย์ที่มาจากเวทีทั้งระดับไทยและนานาชาติ มีแม้กระทั่งการเรียนทางไกลกับอาจารย์ที่สอนจากเมืองนอก นำมาซึ่งแนวคิดในการออกแบบที่แตกต่าง สิ่งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงงานที่จะนำเสนอเสนอในปีสุดท้าย ได้นำเสนอแบบจำลองทางกายภาพของ Queen Sirikit Museum of Textiles ที่นำมาพัฒนางานตามความสนใจของตนเอง ผ่านสตูดิโอการออกแบบ 10 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะนำเสนอแนวคิดที่แตกต่างรวมถึงสื่อที่เราจะนำเสนอการออกแบบของเราด้วย โดยได้เลือกสตูดิโอที่จะนำเสนอวิธีการออกแบบผ่านแบบจำลองทางกายภาพและผลักดันแนวคิดที่ว่า “แบบจำลองก็เพียงพอแล้ว” จึงเน้นถึงหัตถกรรมผ้าไหมไทย ซึ่งมี Queen Sirikit เป็นบุคคลสำคัญในการสนับสนุนให้ผ้าไหมมีความนิยมและเป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทย นายนิพพิชฌน์ เฉยบำรุง (ปัน) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาในหลักสูตรอินดาได้กล่าวว่า งานที่จัดให้นักศึกษาในทุกชั้นปีได้ร่วมนำเสนอผลงานถือเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากทำให้เขาได้เห็นงานของเพื่อนๆ ไม่ใช่เฉพาะปีที่เขาเรียน หากแต่งานของนักศึกษาในชั้นอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 3 หรือชั้นปีที่ 4 ก็ตาม ซึ่งถือเป็นการแบ่งปันข้อมูลความรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้หยุดไปเนื่องจากโควิดมาประมาณ 2 ปี จึงรู้สึกดีใจที่ ทุกๆ คนได้กลับมาทำงานร่วมกันอีกครั้ง “ผมได้ยินอินดามาจากเพื่อนรุ่นพี่ เขาแนะนำอินดาให้ผมเนื่องจากสังเกตเห็นว่าผมมองสถาปัตยกรรมแตกต่างไปจากการออกแบบทั่วๆ ไป ผมมองว่าจุดแข็งของอินดาคือสิ่งที่สาธารณะชนมีต่อมุมมองของเราเราไม่ได้ทำแค่เพียงสิ่งเดียวเสมอไป แต่อินดาเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและมีมุมมองต่อสถาปัตยกรรมที่แตกต่างออกไปและให้เราตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวและรวมมันกลับเข้ามาสู่งานของเรา” นิพพิชฌน์ กล่าว …………………………………………………………. เกี่ยวกับ INDA (International Program in Design and Architecture ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต การออกแบบสถาปัตยกรรม (นานาชาติ) เป็นหลักสูตร 4 ปี ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เป็นหลักสูตรที่เน้นการออกแบบด้วยนวัตกรรมและการทดลอง มีความหลากหลายในเนื้อหาการสอนทางด้านการออกแบบสาขาต่างๆ ทั้งการออกแบบภายใน งานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม หรือการวางผังเมือง โดยผลิตบัณฑิตมีมุมมองการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นสากล และเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิก บัณฑิตที่จบไปสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกและทำงานเป็นสถาปนิกในประเทศไทยได้