“PALFA Filter” เทคโนโลยีกำจัดโลหะหนักในน้ำเสีย ประหยัดเวลา สะดวก ลดต้นทุน พลิกโฉมโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ รักษ์น้ำ รักชีวิต รักษ์สิ่งแวดล้อม

“TEAnity Team”เป็นกลุ่มธุรกิจ Startup ที่นำนวัตกรรมใหม่ๆ และความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการบำบัดน้ำเสียจากโลหะหนักของโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ ให้เป็นเทรนด์ใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “PALFA Filter” เทคโนโยลีในการบำบัดน้ำเสียจากโลหะหนัก ให้เป็นเรื่องง่ายๆ และสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าโรงงานของท่านจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ฟิลเตอร์ของเราก็สามารถดัดแปลงปรับเปลี่ยนให้ใช้งานได้เหมาะสมกับทุกสถานที่กับประโยชน์ที่ได้รับ
- หมดปัญหาการสั่งซื้อสารเคมีสำหรับการตกตะกอนโลหะจำนวนมหาศาล
- ลดระยะเวลาการบำบัดได้เร็วกว่าวิธีปกติถึง 6 เท่า
- ประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักสูงและเร็ว
“PALFA Filter” ช่วยลดต้นทุน ลดค่าบำรุงรักษา ประหยัดเวลา สะดวก รวดเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วันนี้เรามาทำรู้จักกับแบรนด์ “PALFA Filter” โดย “TEAnity Team” กันที่พลิกโฉมใหม่เหนือมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม

รู้จักคนสำคัญ “TEAnity Team” ทีมคุณภาพ
1. คุณนันทินี เทศกาล ตำแหน่ง CEO (Chief Executive Officer)
การศึกษา
- ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์สาขาเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล เกียรตินิยมอันดับที่ 2
- ปริญญาโทคณะวิทยาศาสตร์สาขาเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาพอลิเมอร์ และเทคโนโลยี
2. คุณธนิษฐา ผ่องสกุล ตำแหน่ง CFO (Chief Financial Officer)
การศึกษา
- ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. คุณกนกวรรณ กล้าหาญ ตำแหน่ง CTO (Chief Technical Officer)
การศึกษา
- ปริญญาตรี (2559-2562) ฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยมอันดับ 1 พิสิฐวิธาน) และได้รับทุนศรีตรังทอง
- ปริญญาโท-เอก (2563-ปัจจุบัน) วัสดุศาสตร์ (Material Science and Engineering) สถาบันวิทยสิริเมธี และได้รับทุนศรีเมธีสำหรับสนับสนุนวิจัยต่างประเทศ
4. รศ.ดร. ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ตำแหน่งที่ปรึกษาทีมและรับผิดชอบโครงการทั้งหมด
การศึกษา
- ปริญญาตรี สาขาเคมีอุตสาหกรรม จากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์พอลิเมอร์ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ Leeds ประเทศอังกฤษ

ประวัติของทีม
เดิม “TEAnity team” เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเข้าแข่งขันในงาน Innovation for campus sustainability 2020 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ส่งหัวข้องานวิจัยเกี่ยวกับตัวดูดซับจากเส้นใยใบสับปะรด ซึ่งเป็นงานวิจัยของคุณนันทินี เทศกาล (CEO ของ TEAnity ณ ปัจจุบัน) ภายใต้ที่ปรึกษา รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นใยธรรมชาติและวัสดุ Composite ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี คอยให้คำแนะนำและดูแลทีมอย่างใกล้ชิด จนประสบความสำเร็จตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรก และพบว่าเป็นการตอบโจทย์หลายๆเวทีที่กำลังมองหาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ เราจึงได้แสดงศักยภาพและโอกาสในการร่วมเข้าแข่งขันในงานต่างๆ มากมาย เพื่อหาทุนมาพัฒนาและ Scale up ผลิตภัณฑ์จนถึงปัจจุบัน
เราได้เริ่มโครงการจากการทำวิจัยและเริ่มเข้าแข่งขันในโครงการต่างๆในการพัฒนาโครงการให้ขยายไปสู่อุตสาหกรรมทุกขนาดได้จริงซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี สามารถคว้ารางวัลถึง 9 เวทีเป็นการเปิดประสบการณ์และความรู้แขนงใหม่ ใช้จุดแข็ง-จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ของทีมเอง เพื่อนำมาพัฒนาให้เข้ากับตลาดและกลุ่มลูกค้ามากที่สุด รวมถึงประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่นการเข้าถึงลูกค้า การนำเสนอผลงาน การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าอย่างตรงจุด

ที่มาและความสำคัญของผลิตภัณฑ์ “PALFA Filter”
เนื่องจากทีมได้เล็งเห็นถึงปัจจุบัน อันเนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่เติบโตอย่างรวดเร็วและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในอัตราที่เพิ่มขึ้นโดยไม่คำนึงสารปนเปื้อนในน้ำเสียคือโลหะหนักซึ่งเป็นตัวทำลายระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตต่างๆในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามโรงงานบางประเภทไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้โลหะหนักได้ ดังนั้นระบบการกำจัดโลหะหนักจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก วิธีการบำบัดโลหะหนักในน้ำเสียของโรงงานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและสะดวกคือการใช้สารเคมีปรับ pH เพื่อทำให้โลหะหนักตกตะกอนและนำตะกอนนั้นไปฝังกลบหรือเผาทิ้ง อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวนี้แสดงความถึงความไม่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์และระบบ เพราะใช้สารเคมีในปริมาณมากและใช้เวลาในการดูดจับโลหะหนักค่อนข้างนาน ส่งผลต่อราคาในการกำจัดที่สูงขึ้นและภาระงานที่หนักขึ้นของผู้ใช้งาน รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลก่อผลกระทบรุ่นแรงต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น “PALFA Filter” จึงถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับโลหะหนักในน้ำ ซึ่งสร้างมาจากเส้นใยใบสับปะรดที่เป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตร และสามารถทำงานได้ทันทีเพียงแค่ปล่อยน้ำเสียไหลผ่าน ช่วยลดเวลาในการกำจัดโลหะหนัก และโรงงานไม่จำเป็นต้องเสียค่ากำจัดตะกอนอีกต่อไป

ผลิตภัณฑ์หรือบริการของโครงการ
ผลิตภัณฑ์ “PALFA (Pineapple Leaf Fiber Adsorbent) Filter” ทำหน้าที่จำกัดโลหะหนักเป็นตัวดูดซับจากเส้นใยใบสับปะรด ที่นำของเหลือทิ้งจากการเกษตรมาผ่านขบวนการต่างๆ เพื่อให้เป็นเส้นใยขนาดไมครอน นอกจากนี้เส้นใยใบสับปะรดได้รับการปรับปรุงพื้นผิวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับ ซึ่งตัวดูดซับนี้มีความสามารถในการดูดซับโลหะหนักเพื่อบำบัดในน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียในแหล่งชุมชนไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยจุดเด่นของ “PALFA Filter” สามารถทำงานได้ทันที เมื่อใส่ในระบบบำบัดน้ำ ที่มีประสิทธิภาพการดูดซับที่สูงกว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และใช้ปริมาณที่น้อยกว่าสารเคมีถึง 4 เท่า มากไปกว่านั้น สามารถลดขั้นตอนการบำบัดน้ำโดยการตกตะกอนเคมีที่มีหลายขั้นตอนและใช้เวลานานให้เหลือเพียงแค่ขั้นตอนเดียว คือการปล่อยในน้ำเสียไหลผ่าน “PALFA Filter”เท่านั้น อีกหนึ่งข้อดีคือความสามารถในการดูดซับที่รวดเร็วทำให้ลดเวลาในการบำบัดน้ำเสียถึง 6 เท่า และยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในคุณภาพเทียบเท่าเดิมหลังผ่านการล้างด้วยวิธีการเฉพาะ “PALFA Filter” มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เส้นใย ฟิลเตอร์ และไส้กรอง เพื่อสามารถเลือกใช้ในรูปแบบต่างๆ ให้ตรงกับเหมาะสมของลักษณะโรงบำบัดน้ำเสีย

ความแตกต่างของเทคโนโลยีของ “PALFA Filter” กับคู่แข่งในตลาด ได้แก่
- เส้นใยดูดซับโลหะหนักมีประสิทธิภาพที่สูงถึง 170 mg/g เมื่อเปรียบเทียบกับระบบปัจจุบัน หรือตัวดูดซับชนิดอื่นมีค่าสูงกว่า 5 ถึง 10 เท่า
- ใช้เวลาในการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียน้อยลงจากเดิมที่ใช้สารเคมีประมาณ 6 เท่าเนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการดูดซับที่รวดเร็ว และสามารถลดขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียจากการตกตะกอนด้วยสารเคมีจะมีหลายขั้นตอนใช้เวลาประมาณ 1 วัน
- สามารถลดต้นทุนในการกำจัดน้ำเสียได้ เพราะการกำจัดโลหะหนักโดยการตกตะกอนด้วยสารเคมี ใช้เวลานานจึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และสารเคมีเร่งตกตะกอนเพิ่ม และอีกทั้งมีตะกอนโลหะหนัก ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัด ตรงกันข้ามกับผลิตภัณฑ์ของเราที่ไม่ตะกอนหลงเหลือในขั้นตอน
- ผลิตภัณฑ์ของทางเราสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- ใช้ในปริมาณน้อยกว่าสารเคมี 4 เท่า
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากการผลิตจากวัสดุจากของเหลือทิ้งในธรรมชาติ
- ผลิตภัณฑ์สามารถปรับให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะกับระบบบำบัดน้ำนั้นๆ เนื่องจากมีสินค้าหลายรูปแบบ

ด้านงบประมาณในการกำจัดโลหะหนัก
คาดการณ์ว่า “PALFA Filter” สามารถช่วยลดงบประมาณในการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียจากระบบเก่าดังนี้
Market Validation โรงงานขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียปนเปื้อน โลหะหนัก ความเข้มข้น 100 ppm ปริมาณ 9000 ลบ.ม.
สารเคมีที่ใช้ตกตะกอน “สารเร่งตกตะกอน” การบีบดัดตะกอน + การกำจัดตะกอน ราคาประมาณ 2,200,000 บาทต่อเดือน
ระบบใหม่ ใช้ PALFA + Regeneration ราคาประมาณ 1,800,000 บาทต่อเดือน
ระบบใหม่ งบประมาณลดลง = 400,000 บาทต่อเดือน
Market Validation โรงงานเสียค่าบำบัดน้ำเสีย 200 บาทต่อน้ำเสีย 1 ลบ.ม. ดังนั้นโรงงานต้องจ่าย 1,800,000 บาทเดือน
ต้นทุน 40 % = 720,000 บาทต่อเดือน Vat 7 % = 26,000 บาทต่อเดือน
ระบบใหม่ กำไรสุทธิ (Net Profit) 53% = 1,054,000 บาทต่อเดือน
ผลงานนี้เป็นไปตามเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ โดยที่มีข้อ 6 12 13 14 สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม 3 11 17 สำหรับด้านสังคม และ 8 9 สำหรับด้านเศรษฐกิจ
- ด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก “PALFA Filter” สร้างจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทำให้เป็นส่วนหนึ่งในการลดขยะและ เพิ่มมูลค่าทางการเกษตร นอกจากนี้สามารถช่วยจับสารพิษต่างๆที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศทั้งในน้ำและอากาศดีขึ้น และยังเป็นส่วนช่วยในการลดก๊าซที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ถูกสร้างขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์
- ในด้านสังคม หากมีการใช้งานอย่างแพร่ขยาย นวัตกรรมนี้จะช่วยให้คนมีสุขภาพความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เนื่องจากมีส่วนช่วยในการลดมลพิษและสิ่งปนเปื้อนในน้ำและอากาศ นอกจากนี้ยังถือเป็นการช่วยลดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของขยะทางการเกษตร ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรง มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 84 เท่าในระยะเวลา 20 ปี
- ในส่วนของด้านเศรฐกิจ “PALFA Filter” สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและสามารถช่วยลด ค่าใช้จ่ายกับธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในการกำจัดของเสียได้

โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy)
ผลงานนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของ BCG ทั้ง 3 มิติ พร้อมกันดังนี้
- ด้าน Bio economy ใช้วัสดุที่มาจาการเกษตร มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
- Circular Economy การลดขยะทางการเกษตรโดยการนำกลับมาสร้างตัวดูดซับที่มีประโยชน์ ซึ่งแสดงถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
- ด้าน Green Economy เนื่องจากตัวดูดซับสร้างจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การผลิตไม่ใช้สารเคมีอันตราย ไม่ปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมและช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้น

ขนาดตลาด
ประเทศไทยมีโรงงานจำนวน 140,535 โรงงานจากสถิติ โดยมีการสร้างน้ำเสียมากกว่า 6,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งในจำนวนโรงงานทั้งหมดนี้มีถึง 2,109 โรงงานที่มีการใช้โลหะหนักในขั้นตอนการผลิตและอื่น ๆ ซึ่งสามารถแยกโรงงานออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 คือโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียมากกว่า 90,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี มีจำนวน 9 โรงงาน
ส่วนที่ 2 คือโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียไม่เกิน 30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี มีจำนวน 2,100 โรงงาน
ในแต่ละโรงงานมีงบประมาณสำหรับการสั่งซื้อสารเคมี 110 บาทต่อลูกบาศก์เมตรโดยประมาณ เท่ากับว่าโรงงานในส่วนที่ 1 และ 2 มีงบประมาณสำหรับการสั่งซื้อสารเคมี 91,000,000 และ 7,119,000,000 บาทต่อปี ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียทั้งหมดทุกโรงงานที่มีการใช้โลหะหนักจะมีมูลค่าการตลาดของการบำบัดน้ำเสียจากโลหะหนักอย่างน้อย 7,200,000,000 บาทต่อปีโดยประมาณ
Market Opportunity โรงงานที่มีโลหะหนัก 2,109 แห่ง
น้ำเสียมากกว่า 20,000 ลบ.ม. ต่อเดือน => งบสารเคมี 2.8 ล้านบาทต่อปี => งบในการบำบัดน้ำเสีย 7,210 ล้านบาทต่อปี

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์ “PALFA Filter” แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดย
กลุ่มแรกคือบริษัทรับออกแบบระบบและขายสารเคมีบำบัดน้ำเสีย ที่มีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่ต้องว่าจ้างบริษัทในกลุ่มนี้ในการช่วยออกแบบการบำบัดน้ำเสีย
กลุ่มสุดท้ายคือโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีระบบบำบัด มีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและพนักงานที่มีความชำนาญเฉพาะทางอย่างวิศวกรหรือนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับการบำบัดน้ำเสียจากโลหะหนักทุกวันและจำเป็นต้องกำจัดโลหะหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามนิคมอุตสาหกรรมและกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปรับเงินและชื่อเสียงของบริษัท

นอกจากนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรองของผลิตภัณฑ์ “PALFA Filter” แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือการประมง หากในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง และ ปลา เป็นต้น นั้นมีน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนัก อาจจะทำให้สัตว์เหล่านั้นมีโลหะหนักตกค้าง ซึ่งหากใน 1 วันผู้บริโภครับประมาณเกิน 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะทำให้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายของผู้บริโภคได้ และนอกจากนี้สารเคมีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจจะทำให้สัตว์ขาดสารอาหารเนื่องสารเคมีสามารถจับกับธาตุที่เป็นสารอาหาร
กลุ่มสุดท้ายคือห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโลหะหนักเป็นสารที่ใช้มากในงานวิจัย จึงทำให้ต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการกำจัดแต่ละครั้ง
Market Opportunity ประเทศไทยมีโรงงานรวมทั้งหมด 140,535 โรงงาน
โรงงานที่อยู่ในตลาดเครื่องกรองน้ำ = 42,161 โรงงาน
โรงงานที่มีการใช้โลหะหนักในขั้นตอนการผลิตและอื่นๆ = 2,109 โรงงาน

ประสบการณ์ของทีม TEAnity
1. The 5thAnnual Conference of Sustainable University Network of Thailand
- Reward: First runner-up
- From The Science Society of Thailand Under the Patronage of His Majesty the King
- Date 04/12/2020
2. STARTUP THAILAND League 2020
- Reward: Startup Showcase 2020
- From NIA; National Innovation, Agency, Thailand
- Date 22/07/2020
3. TECH PLANTER in THAILAND 2020
- Reward: 9 Finalists for TECH PLAN DEMO DAY in THAILAND 2020
- Date 24/06/2020
4. Presentation in Hyper Interdisciplinary Conference in Singapore 2021
- Date 27/02/2021
- From Leave A Nest
5. Innovation for campus sustainability 2020
- Reward: Winner
- From Mahidol Innovation for Campus Sustainability
- Date 04/06/2020
6. GC x Mahidol Webinar: Circular Economy & Sustainability for Higher Education
- Speaker (CEO of TEAnity)
- Date 09/06/2021
7. YSF 2021: Ideation Incentive Program
- Funding
- From NIA and TED FUND
- Date 01/07/2021
8. Mahidol Incubation Program 2020
- Funding
- From iNT (สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม)
9. Innovative Idea in PCT 2021
- Funding
- From the International Polymer Conference of Thailand (PCT-11)
- Date 05/07/2021
10. Thailand Sustainability Expo 2021
- 15 Finalists for Thailand Sustainability Expo 2021 DEMO DAY
- Date 22/09/2021

ทีมเรากำลังมองหาพันธมิตรทางธุรกิจ
นักธุรกิจหรือผู้สนใจลงทุน Investor และ Partner โรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อยากได้ “FALFA Filter” ไปทดสอบ ขณะนี้ทาง TEAnity กำลังทดสอบผลิตภัณฑ์ “PALFA Filter” ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ในจังหวัดปทุมธานี และกำลังมองหาโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีน้ำเสียประเภทนี้เพิ่มเติม เพื่อนำไปพัฒนาการผลิตตัวดูดซับโลหะหนัก ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่หน้าเพจของ Facebook TEAnityTeam หรือสามารถติดต่อทางสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ตามข้อมูลด้านล่างนี้

เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 09:00-18:00
เบอร์โทร : 090-104-1363, 086-787-9217
อีเมล : TEAnity@gmail.com/ taweechai.amo@mahidol.ac.th (ที่ปรึกษา)
Facebook page: https://www.facebook.com/TEAnityTeam

Facebook : https://www.facebook.com/TEAnityTeam