ม.นอร์ท- เชียงใหม่ ทำข้อตกลงสร้างอาชีพและความเข้มแข็งของชุมชน ร่วมกับ อปท.อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ยก “ครูพยงค์ แสนกมล” นำร่องสร้างภูมิปัญญาชาวบ้าน สู่มาตรฐานทางวิชาการเทียบเท่าสากล“การสร้างคลังอาหารให้กับโลก ด้วยการพัฒนาความรู้ร่วมกับภูมิปัญญาของชาวบ้านคนไทย ให้มีความยั่งยืนและมั่นคง เราต้องเป็นครัวโลก เรามีทรัพยากรคน เรามีดีเรื่องเกษตรกรรม เรามีวัตถุดิบชั้นเยี่ยม เรามีนักวิชาการพร้อม มีสถานที มีทุน และมีความน่าเชื่อถือ มีเครือข่ายจึงเป็นที่มาของงานในวันนี้ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ “เก๊าเหง้าผะหญ๋า” พิธีลงนามการเสริมสร้างอาชีพและความเข้มแข็งให้ชุมชนหลังโควิด-19” นายณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2563 ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ นายณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เป็นประธานการทำข้อตกลงความร่วมมือ “การเสริมสร้างอาชีพและความเข้มแข็งให้ชุมชนหลังโรคอุบัติใหม่ (โควิด-19) ระหว่างมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในอำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ทั้ง 12 อปท. เป็นการสืบค้นภูมิปัญญา ปราชญ์ท้องถิ่น ที่มีสิ่งดีมีคุณค่า นำมาต่อยอดและช่วยเผยแพร่ เพื่อสร้างโอกาส และสร้างความรู้ให้กับชุมชน โดยจะเน้นผู้สูงอายุผู้ที่เป็นต้นแบบให้ได้เกิดงาน เกิดผลผลิต เกิดการตลาด ทรงคุณค่าแห่งชีวิตสืบต่อเชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ ที่มีพลังและจินตนาการนายณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ได้เปิดตัวค้นหาปราชญ์ หรือราชินีเห็ด คือ ครูพยงค์ แสนกมล จากจังหวัดอ่างทอง ผู้มีความรู้จากประสบการมากมายหลายด้าน และมีความชัดเจนในการจะนำความรู้มาถ่ายทอดกับชุมชนและชาวบ้านอย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตเห็ดชนิดต่างๆ รวมถึงการแปรรูปเห็ด ครูพยงค์ ถือว่าเป็นคนที่ค้นหาความหมายของชีวิตมีความรู้แบบตรงกับการทำเห็ดในระดับนานาชาติมีจิตอาสา แต่ขาดความเป็นนักวิชาการ ทาง มหาวิทยาลัยจะมาเติมเต็มและร่วมเปิดเวทีให้กับครูพยงค์ โดยมีทีมอาจารย์เข้าให้ความช่วยเหลือและแนะนำในการทำสื่อการสอน การวางแผนการสอน การพัฒนาและวิจัย ผลงานของครูพยงค์ ให้ไปถึงเป้าหมายสูงสุด รวมถึงการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับชุมชนที่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็นจุดเริ่มต้น และขยายออกไปสู่ทุกพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่อธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียใหม่ มองว่า นิวนอร์มอล หลังโควิด-19 คือ การสร้างคลังอาหารให้กับโลก ด้วยการพัฒนาความรู้ร่วมกับภูมิปัญญาของชาวบ้านคนไทย ให้มีความยั่งยืนและมั่นคง เราต้องเป็นครัวโลก เรามีทรัพยากรคน เรนายณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ามีดีเรื่องเกษตรกรรม เรามีวัตถุดิบชั้นเยี่ยม เรามีนักวิชาการพร้อม มีสถานที มีทุน และมีความน่าเชื่อถือ มีเครือข่ายจึงเป็นที่มาของงานในวันนี้ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ “เก๊าเหง้าผะหญ๋า” พิธีลงนามการเสริมสร้างอาชีพและความเข้มแข็งให้ชุมชนหลังโควิด-19““รากเหง้า ผะหญ๋า” ภาษาพื้นเมืองล้านนา คือ ภูมิปัญญาของท้องถิ่น ซึ่งอำเภอหางดง เป็นอำเภอเก่าแก่ ตั้งแต่ปี 2460 ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านมีเยอะแยะ ครูพยงค์ แสนกมล ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของผะหญ๋า แม้ว่าครูจะเป็นคนอ่างทอง แต่เป็นผะหญ๋า ช้างเผือกในป่าภาคกลาง ที่ต้องการคนสนับสนุน ต้องการเวที คุณค่าตรงนี้เราต้องสนับสนุนให้ช้างเผือกตัวนี้ทรงคุณค่าทางปัญญาและสร้างคุณให้แผ่นดิน” อธิการบดี กล่าวด้าน รศ.ดร.พิธากรณ์ ธนติเบญจสิทธิ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวว่า สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินกิจกรรมตามพันธกิจหลักของการเป็นมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษา การเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม นี้คือ พันธกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยทุกแห่งตามนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษาเองก็มุ่งให้ความสำคัญต่อการวิจัยและนำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาประเทศ จะเห็นว่าท่านได้ลงพื้นที่และให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน เพื่อจะนำไปสู่การนำทรัพยากรมนุษย์หรือชุมชนของประเทศ สามารถไปแข่งขันได้ในระดับโลก ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เรามุ่งเน้นในการสร้างองค์ความรู้และให้การบริการทางด้านวิชาการกับชุมชนและสังคมดังนั้น โครงการที่มหาวิทยาลัยฯ จัดขึ้นในครั้งนี้ เป็นโครงการในการเสริมสร้างอาชีพและความเข้มแข็งให้ชุมชน ภายหลังโรคอุบัติใหม่ หรือ โควิด-19 โดยท่านอธิการบดีได้แนะนำ “ราชินีเห็ด” ทางมหาวิทยาลัยเองก็มองเห็นว่า เรามีหน้าที่ในการที่จะส่งเสริมองค์ความรู้ในการวิจัย ฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังพัฒนาก็คือ การดำเนินการวิจัยองค์ความรู้งานวิจัย เรื่องของเห็ดต่างๆ ร่วมกับปราชญ์ทั้ง 12 องค์กร ได้แก่ ตำบลหางดง, ตำบลหารแก้ว,ตำบลสันผักหวาน,ตำบลบ้านแหวน,ตำบลแม่ท่าช้าง,ตำบลหนองควาย,ตำบลหนองแก้ว,ตำบลบ้านปง,ตำบลสบแม่ข่า,ตำบลหนองตองพัฒนา,ตำบลน้ำแพร่พัฒนา และตำบลขุนคง เพื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาวิทยาลัย และมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยเริ่มจากโครงการแรก คือ การที่จะเสริมสร้างอาชีพในเรื่องการเพาะเห็ด และการแปรรูปเห็ด เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้และลงทุนไม่สูง ซึ่งเราเชื่อว่าชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ หลังจากนี้ไปต้องมองหากิจกรรมหรือทักษะต่างๆ ในการที่จะพัฒนาตัวเอง โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจหลังโควิด-19 อาชีพเสริม รายได้เสริมเป็นสิ่งที่สำคัญ และทางมหาวิทยาลัยเองก็ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่ให้ชุมชน สังคมที่อยู่รอบพื้นที่ของเราจะเริ่มจากพื้นที่ใกล้และค่อยๆ ขยายพื้นที่ออกไป ซึ่งจะเริ่มจากอ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.จอมทอง อำเภอรอบพื้นที่บริเวณที่ใกล้กับมหาวิทยาลัย จนถึงตัวจังหวัด และอาจจะข้ามไประดับต่อไป สิ่งสำคัญนอกจาก จะให้ความเข้มแข็งกับชุมชนแล้ว เรายังมุ่งให้ความสำคัญกับการที่จะพัฒนานักศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเองได้นำเอาโปรเจคตรงนี้มาช่วยในเรื่องของการพัฒนาทางด้านนักศึกษา โดยมีวิทยากร คือ ครูพยงค์ แสนกมล มาให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการที่จะเสริมสร้างอาชีพให้กับนักศึกษาแล้วตอนนี้และได้มาอบรมในเรื่องของการเพาะเห็ด การแปรรูปเห็ด ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ร่วมถึงบุคลากรด้วย ตัวอย่างเช่น นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งอยู่ในโครงการนักกีฬาฟุตบอล สนใจเข้ามาเรียนการเพาะเห็ดต่างๆ ล็อตแรกที่นักศึกษาขายไปได้เค้าภูมิใจมากในการที่ทำเงินได้ เพราะนั้นคือ สิ่งที่น่าภูมิใจและสามารถแสดงให้เราเห็นว่า ความสัมพันธ์และการที่จะดูแลนักศึกษาภายใต้ที่นโยบายพันธกิจร่วมถึงมีวิทยากรพิเศษบูรณาการได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง เพราะเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ก็ได้เริ่มกระจายไปปากต่อปากทำให้ความเป็นมหาวิทยาลัยของเรามีโอกาสและจะยั่งยืนต่อไปสำหรับแผนในการฝึกอบรมนั้น รศ.ดร.พิธากรณ์ บอกว่า ได้ทำแผนการฝึกอบรมไว้ตลอดทั้งปี คือ ในทุกๆ เดือนจะมีกิจกรรมของหน่วยงาน อปท.จะมีการประชุมกันที่อำเภอ เราก็จะส่งหลักสูตรไปว่าในแต่ละเดือนมีการจัดอบรมหลักสูตรอะไรบ้าง เรามีตัวแทนประสานงานกลับมามหาวิทยาลัยกับอำเภอหางดงทุกเดือน ดังนั้น เราจะเอาโปรเจคตรงนี้เข้าไปนำเสนอให้กับแต่ละ อปท.ว่าเรามีกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น การเพาะเห็ด การแปรรูปเห็ด อาจจะเป็น Episode ต่างๆ เช่น ในเดือนที่ 1 อาจจะเป็นการเพาะเห็ดโคนดำ และแปรรูป เดือนที่ 3 อาจจะเป็นการเพาะเห็ดภูฏาน และแปรรูป ฉะนั้น กิจกรรมต่างๆ จะอยู่ในหลักสูตรที่เราจัดทำขึ้น โดยหลักสูตรเป็น 1 วัน เช้าเพาะ บ่ายแปรรูป และดำเนินกิจกรรมอย่างนี้ จนครบ 12 อปท. ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเราจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้เกษียณอาชีพแล้ว ให้มีรายได้และอาชีพเสริม หรือเกษตรกรที่มีความสนใจ ดังนั้น กิจกรรมหรือหลักสูตรที่เราจัดทำขึ้นมาเชื่อว่าตอบสนองต่อความต้องการ เพราะในสิ่งที่เราได้ดำเนินการผ่านมาครั้งแรก ทางมหาวิทยาลัยเองได้มีการเปิดในเรื่องของการจัดฝึกอบรมเรื่องของการเพาะเห็ดขึ้นเป็นครั้งแรกและได้เชิญสมาชิกชาวบ้านจากชุมชน และหน่วยงานของ อปท.มาร่วม ปรากฏว่าได้รับการสนใจ และอยากให้จัดเป็นหลักสูตรขึ้นมา และนี่คือ ที่มาว่าทำไมเราต้อง MOU กับ อปท.ทั้ง 12 แห่ง เพื่อเป็นมาตรฐาน และเป็นไปตามหลักวิชาการต่างๆ ทางมหาวิทยาลัย สามารถจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสม มีประกาศนียบัตรรับรองตามมาตรฐานการศึกษา“ถามว่าเห็ดจะกู้วิกฤตเศรษฐกิจได้ไหม ผมมั่นใจและเชื่อว่า เห็ดจะกู้ชาติได้ จริงๆ ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องเห็ด อย่างน้อยผมได้บริโภคเห็ด และไม่เคยมองเห็นว่าเห็ด มันก็คือเห็ด เพิ่งมารู้จักกับครูพยงค์ ประมาณ 6-7 เดือน ได้ซึมซับได้คุยกัน มันเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มาก ทำให้ผมมีความสนใจที่จะทำวิจัยทางวิชาการ ทางการตลาด และถ้าเป็นนักวิชาการเราจะมองเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำก็คือ 1.เรื่องการเพาะเห็ด ทำอย่างไรจะมีอายุที่ยาวนานขึ้น 2.นวัตกรรม การแปรรูปเห็ด ซึ่งครูพยงค์ ก็มีนวัตกรรมอยู่แล้ว แต่หากเราสามารถดึงความสามารถของครูพยงค์ ออกมาช่วยในเรื่องการสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นโปรดักส์ นวัตกรรม ก็จะเกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มากและเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาด “นี่คือ สิ่งที่เราคาดหวังว่า “เห็ด” ไม่ใช่เป็นแค่”เห็ด” แต่จะเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่า และสามารถสร้าง Value Add ตรงนี้ให้เกิดมูลค่าขึ้น ผมเชื่อว่ามันมากกว่าหมื่นล้าน ด้านการศึกษาอย่างเดียวเราสู้มหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้ เราไม่มีทรัพยากรในเรื่องของอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย แต่เรามีบุคคลากรที่มีองค์ความรู้ ในระดับสากลอยู่แล้ว ทำไมเราจะขับเคลื่อนไปไม่ได้ในเมื่อเราเป็นมหาวิทยาลัยชีวิต”รศ.ดร.พิธากรณ์ครูพยงค์ แสนกมล กล่าวถึงความรู้สึกว่า วันนี้ ดีใจที่มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เห็นคุณค่าเกษตรกรตัวเล็กๆ ที่ชีวิตต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดชีวิตผ่านทุกข์ สุขมามากมาย แต่ไม่เคยท้อ สู้ ที่ฟาร์มเห็ดครูยงค์-อนันต์ ที่จังหวัดอ่างทอง ทำเกษตรแบบผมสผสาน ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ปลูกทุกอย่างที่กินได้ ไม่ได้เพาะเห็ดอย่างเดี่ยว“ท่านอธิกาบดีไปเยี่ยมฟาร์ม ไปถึงก็ 6 โมงเย็นแล้ว เดินชมสวนป่า ยุงไม่กัดเลย ต้นไม้เยอะมากสวยมาก สิ่งที่ท่านอเมซิ่ง คือ เห็นหิ่งห้อยท่านก็ลุยดูหิ่งห้อย และได้ชิมอาหารที่ทำมาจากเห็ด ท่านชอบมากเกิดไอเดีย ถามว่า ครูเพาะเห็ดอะไรบ้าง เพาะอย่างไร ตอบท่านไปว่าเพาะๆ ไปตามประสา ท่านบอกไม่ได้จะให้อาจารย์มาช่วยจัดหลักสูตรให้” ครูยงค์ เล่าพร้อมกับย้ำว่า “ครูมีความสามารถในการเพาะเห็ด ปลูกต้นไม้ แต่ด้านวิชาการได้อาจารย์มาจัดหลักสูตร และก็สอนว่า พูดยังไงให้เป็นระดับชั้น ต่อไปฟาร์มเห็ดครูพยงค์ ก็จะเป็นการเรียนการสอนมีหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนอร์ท – เชียงใหม่ จัดให้ ที่ผ่านมาครูพยายามสมัครแต่เราไม่ได้จบเกษตรไม่มีใครสนใจ ทำอะไรไม่ได้เลย แต่วันนี้ มหาวิทยาลัยนอร์ท ให้โอกาสครูมาเพาะเห็ด มาปลูกต้นไม้ มาทำอาหารเลี้ยงให้ทุกคนชิม เปิดเวทีให้ครูได้แสดงความสามารถ ที่สำคัญ มาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ ทำงานวิจัยร่วมกันจัดหลักสูตรให้กับนักศึกษา ให้ชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้สร้างอาชีพอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน”ครูพยงค์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาไปทำงานให้หลายที่ หลายแห่งทั้งเอกชน หน่วยงานรัฐ ในประเทศ ต่างประเทศ ได้เงินบ้าง ไม่ได้เงินบ้าง ได้คำขอบคุณบ้าง คำตำหนิบ้าง เสร็จงานก็กลับฟาร์ม ผ่านมาหมดแล้ว วันนี้ ตัวเงินไม่ได้เป็นตัวชี้วัด ครูอายุเยอะแล้ว อยากนำความรู้ตรงนี้นำสู่แผ่นดิน ถ้าทำร่วมกับภาครัฐ หนึ่งปัจจัยว่าเรานั้นจบอะไร ครูนำองค์ความรู้มาร่วมกับมหาวิทยาลัยนอร์ท ตัดประเด็นเรื่ององค์ความรู้ออกไป แต่มองที่ภูมิปัญญา อันนี้มันก้าวต่อได้ ยินดีที่จะนำความรู้น้อยๆ คืนสู่แผ่นดินร่วมกับมหาวิทยาลัยนอร์ท“สิ่งหนึ่งที่ครูได้มาจากประเทศจีน คือ การปลูกต้นไม้แล้วได้เห็ด อันนี้พยายามพูดมาหลายปีก็ไปไม่ถึงไหน พอมาที่มหาวิทยาลัยนอร์ท ซึ่งมีพื้นที่ทดลองปลูกต้นไม สอนเด็กเพาะเห็ดบอกว่าต้องทำแบบนี้ เปิดวันที่ 1 วันที่ 2 เห็ดออกดอก วันที่ 3 ขายได้ ปลูกต้นกงกาง ปลูกต้นไม้ได้เห็ด อาจารย์ก็ได้ทำงานวิจัย จากนี้ไปมหาวิทยาลัยก็จะถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานวิจัยเชิงวิชาการ ดีใจ ขอบคุณที่นอร์ท เห็นคุณค่าเกษตรกรตัวเล็กๆ” ครูยงค์ กล่าว