“สุวัจน์”ฝากความหวังกับดรีมทีมเศรษฐกิจในการปรับ ครม.เร่งแก้คนตกงานเป็นเรื่องแรก เร่ง SME และผู้ประกอบการ ให้กลับมาเปิดกิจการให้เร็วที่สุด

“สุวัจน์”ฝากความหวังกับดรีมทีมเศรษฐกิจในการปรับ ครม.
เร่งแก้ปัญหาคนตกงานเป็นเรื่องแรก เร่ง SME และผู้ประกอบการ ให้กลับมาเปิดกิจการให้เร็วที่สุด
ย ้าสูตรแก้เศรษฐกิจ “ต้องเร็ว แรง ตรงเป้า” แนะ RE DESIGN โครงสร้างภาษี ช่วยลดภาระประชาชน
และธุรกิจ สร้าง NEW NORMAL ของเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานของความเข้มแข็งของชาติ คือ เกษตรกร
ท่องเที่ยว และความน่าอยู่ของประเทศไทย


เร่งสร้างโครงสร้างพืนฐานใหม่ด้านการเกษตรและท่องเที่ยว
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ให้สัมภาษณ์ รายการ Money Chat ที่หัวหิน ประเด็นเศรษฐกิจและการเมือง ใน
วันหยุดสบายๆ ที่หัวหิน โดยมองว่าการเมืองเป็นเรื่องส าคัญ เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นและมีผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจ การเมืองที่ไม่เรียบร้อยนักลงทุนก็กลัวหนี ผมเชื่อว่าขณะนี้คนไทยทั้งประเทศฝากความหวังไว้กับ
การเมือง กับบรรยากาศการปรับรัฐมนตรี ในขณะนี้
ตอนนี้เราก็จะพูดถึงเรื่องโควิดท าให้เกิดนิว นอร์มอล ในเรื่องของการเมือง นิว นอร์มอลของไลฟ์สไตล์
นิว นอร์มอล ในเรื่องเศรษฐกิจ แต่ก่อนจะเป็นนิว นอร์มอล เอาว่าประครองให้อยู่กันได้พี่น้องประชาชนเลย
ฝากความหวังว่า “การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ถ้าเปรียบว่าทุกคนลอยคออยู่กลางทะเล เพียงให้คนมาช่วย
มีขอนไม้มาให้กอด ให้ความมั่นคง ก็ดีใจแล้ว ตอนนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ การลุ้น การเปิดโอกาสต่าง ๆ ว่าท่าน
นายกจะสามารถดึงคนดีๆ เข้ามาร่วมงานได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้ก็ยังไม่ทราบ มีแต่ข่าวว่ามีคนนั้น มีคนนี้ ผมคิดว่า
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยท่านนายกรัฐมนตรีได้ คือ ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ”
วันนี พรรคชาติพัฒนามีวลี“ถอยเพื่อชาติ” ?
ปัญหาของประเทศวันนี้ ต้องมีมืออาชีพมาแก้ไข พี่น้องประชาชนฝากความหวัง วันนี้จะหามืออาชีพที่ไหน
มืออาชีพคือ คนที่เก่งเรื่องเศรษฐกิจรู้ว่าจะต้องจี้ที่จุดไหน แก้ปัญหาที่จุดไหน และตั้งใจที่จะเข้ามาช่วยประเทศ
ซึ่งตอนนี้ถือว่าหายากจริง ๆ ผมว่าพอหาได้ เพียงแต่ว่าสภาพการเมืองบ้านเราตอนนี้ไม่ค่อย welcome
เพราะทุกคนจะรู้สึกว่าก็อยากจะช่วยประเทศ แต่ทุกคนที่เข้ามาแล้วรู้สึกว่าเปลืองตัว เพราะสภาพการเมือง
ตอนนี้ดูเหมือนว่าไม่ค่อยเรียบร้อย แค่ประกาศเปิดตัวเป็นนักการเมืองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์แล้ว พอมาเป็น
การเมืองก็โดนตรวจสอบ ถูกกล่าวหานั้นนี้ เรียกว่า รอยขีดข่วนเต็มตัวไปหมด ทุกคนก็จะมีความรู้สึก
“ทานอิ่ม แล้วอยู่เฉยๆ อย่าหาเรื่องใส่ตัว” แต่วันนี้มันไม่ได้ทุกคนต้องเสียสละ เพราะบ้านเมืองมีวิกฤต ถ้าเรา
เป็นคนเก่ง มีความสามารถเคยท างาน World Bank จบจากเมืองนอก เคยอยู่องค์กรระหว่างประเทศเข้าใจ
เรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน กิจการอีกสิบๆ ล้านแห่ง คนงานอีก 6 - 7 ล้านคน ก าลังจะ
ตกงาน
“วันนี้ต้องเสียสละกัน เสียสละที่จะมาเป็น และเสียสละที่จะไม่เป็น พรรคชาติพัฒนาเสียสละที่จะไม่เป็น
เพราะว่าเวลามีการปรับรัฐมนตรีทุกคนที่เข้ามาเล่นการเมืองก็อยากจะก้าวหน้าเป็น ส.ส. มาหลายสมัยก็อยาก
ท างานให้พี่น้องประชาชน เป็นเกียรติด้วย เมื่อมาเป็น ส.ส. ก็ใฝ่ฝันว่าสักวันก็เป็นรัฐมนตรี และก็มีวัฒนธรรม

ทางการเมือง คุณเป็นแล้วหลายสมัย คุณก็จะได้เลื่อนชั้น ทุกคนก็อยากจะเป็นแต่ต าแหน่งมีน้อย
ในรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรี มีได้ไม่เกิน 36 ท่าน แต่ ส.ส. มีได้ถึง 500 ท่าน ดังนั้น เวลาเลือกตั้งมาแล้วจัดรัฐบาล
หรือปรับ ครม. ก็จะมีปัญหาเรื่องเก้าอี้ไม่พอ ฉะนั้น ก็มีการแย่งกันไปแย่งกันมา ทุกคนก็อยากได้มีโอกาส
ไม่ลงตัวก็เกิดแรงกระเพื่อม ท าให้เกิดรอยร้าว เกิดความไม่ลงตัว กระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาล
พรรคชาติพัฒนาเรามองว่าเสียสละ 1 เก้าอี้ที่เรามีให้นายกฯไปเลย ท่านนายกฯ จะไปเชิญคนนอก มีความรู้
ความสามารถ มาเป็นก็ได้ หรือท่านนายกฯจะเอามาจัดสรร ในระหว่างนักการเมือง เพื่อให้เกิดความลงตัว
และไม่กระเพื่อม ไม่มีความแตกแยก อย่างน้อย เราก็จะได้เสถียรภาพของการเมืองที่มั่นคง นี้คือ เสียสละที่จะ
ไม่เป็น”
วันนี้ผมว่าการเสียสละที่จะเป็นส าคัญกว่าการเสียสละที่จะไม่เป็น เพราะวันนี้เราต้อง import คนนอกที่เก่งๆ
เข้าสู่ระบบการเมือง อย่างวันนี้เรารู้ว่าจะต้องประครองตัว ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในช่วงนี้ แล้วเข้าสู่ นิว นอร์มอล เรา
ต้องการมือฉมัง มือเซียน เราก็พูดว่า “ดรีมทีมเศรษฐกิจ” พอพูดถึงการเมือง ไม่มีคน อยากเข้า ผมยังไม่แน่ใจ
เพราะยังไม่ได้ประกาศรายชื่อ ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านสามารถที่จะพูดคุย จากที่ท่านให้สัมภาษณ์ได้ชวนคน
หลายคนแล้วเข้ามา แต่เค้าปฏิเสธ ฉะนั้น ท่านนายกฯ มีความตั้งใจว่า อยากได้คนดีๆ เข้ามาช่วย
นักการเมืองบอกเสียสละเพื่อชาติ ท้าให้เกิดดรีมทีมเศรษฐกิจที่จะมาแก้ปัญหาไม่ได้เพราะมาจากต่างพรรค
พี่น้องประชาชนตัดสินมาแล้ว พรรคนี้ได้กี่เสียงๆ พอมาจัดรัฐบาลเริ่มต้นต้องมาค านวณว่าได้มาเกินครึ่งหนึ่ง
ปรากฏว่ามาเที่ยวนี้จัดกันมาแทบเป็นแทบตายหลายเดือน เกินครึ่งมาแค่ 4 เสียง รัฐบาลมี 254 เสียง ครึ่งหนึ่ง
ก็ 250 จาก ส.ส. 500 นั้นเป็นการจัดรัฐบาลที่ยากล าบาก รัฐบาลก็ต้องพึ่งเสียงหลายๆ พรรค ดังนั้น ก็ต้อง
กระจายกระทรวงที่ส าคัญ ให้แต่ละพรรคได้รับผิดชอบตามสัดส่วนกัน มันก็เลยเป็นความยากล าบาก สมมุติ
เรามองกระทรวงเศรษฐกิจมีอะไรบ้างก็จะมีกระทรวงการคลัง คือ CFO ของประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ส่งออก กระทรวงพลังงานกับกระทรวงคมนาคม เป็นกระทรวงเศรษฐกิจด้านโลจิสติกส์ แต่ที่เป็นกระทรวง
เศรษฐกิจจริง ๆ กระทรวงการคลัง นี้เป็นเศรษฐกิจจริง ๆ พาณิชย์ เป็นคนไปขาย การส่งออก อันนี้เป็น
เศรษฐกิจจริง ๆ อย่างกระทรวงท่องเที่ยว เป็นเศรษฐกิจจริง ๆ กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องเอาคนมาลงทุน
สร้างโรงงาน เป็นเศรษฐกิจจริง ๆ เวลามีการจัดรัฐบาล กระทรวงต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกจัดสรรอยู่ตามพรรค
นั้นพรรคนี้ ท าให้เหมือนเอกภาพของการท างานร่วมกัน ไม่กระชับเหมือนว่ากระทรวงเศรษฐกิจอยู่ภายใต้
พรรคการเมืองพรรคเดียว ในอดีตเราเคยมีการเลือกตั้งแล้วพรรคการเมืองได้เกินครึ่งพรรคเดียว อย่างนั้น จัด
รัฐบาลง่าย เพราะกระทรวงเศรษฐกิจก็อยู่ภายใต้พรรคการเมืองหลัก
ดังนั้น โครงสร้าง ครม.วันนั้น กับปัญหาของประเทศวันนี้ เทียบกันไม่ได้เลย ท่านนายกรัฐมนตรี ได้ให้
สัมภาษณ์ หลังจากเกิดโควิดรัฐบาลก็จะมีการท างานแบบใหม่ การมีส่วนรวมของประชาชน การฟังประชาชน
การไปพบประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมท างาน ปัญหาเฉพาะหน้าปัจจุบัน คือท าอย่างไร เมื่อมี
การประกาศ ครม. ชุดใหม่ ครม.เศรษฐกิจ ออกมาแล้วประชาชนได้มีความเชื่อมั่น มีเสียงเฮ เรารอดแล้ว
เรียบร้อยแล้ว ได้คนเก่ง คนดี มาแล้ว อันนี้จะเป็นขวัญก าลังใจ ให้เรายืนอยู่ได้

ดรีมทีมเศรษฐกิจ ครม.ใหม่ ที่นายกฯ เป็นหัวหน้าทีม มีอ้านาจเบ็ดเสร็จ
เดิมที่งานด้านเศรษฐกิจให้กับรองนายกรัฐมนตรี สมมุติ โครงสร้างรัฐบาล เราจะมีนายกฯ และก็มีรองนายกฯ
และรัฐมนตรีว่าการ รองนายกฯก็จะมีหลายๆ ท่าน สมมุติสี่ห้าท่าน คนนี้เป็นรองนายกฯทางเศรษฐกิจ คนนี้
เป็นรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง คนนี้เป็นรองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย ที่ผ่านมาท่านสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น
รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ซึ่งท่านเป็นมาหลายปีและอาจมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีเหตุผลทางด้านอื่น
ปรากฏว่า ทีมของท่านได้ลาออกไปก็เลยเข้าใจได้ว่าต้องหาทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ ประกอบกับองค์ประกอบของ
การท างาน สมมุติท่านนายกฯ มาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเอง ก็จะไม่มีรองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ กระทรวง
เศรษฐกิจก็จะขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีเลย อันนี้ก็มีข้อดีที่ว่า อ านาจนายกรัฐมนตรี สูงสุด วันที่มีรองนายกฯ
ฝ่ายเศรษฐกิจคือตอนที่นายกฯ เอาอ านาจไปให้รองนายกฯ เศรษฐกิจให้ท่านไปบริหาร ซึ่งตอนนี้นายกฯ ให้
ความส าคัญกับการแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจ มานั่งหัวโต๊ะเอง เหมือนท่านเป็นหัวหน้า ทีมเศรษฐกิจ เพียงแต่ว่า
รัฐมนตรีเศรษฐกิจที่จะมาท างาน ต่าง ๆ มาเสนอนโยบาย และไปปฏิบัติ รมต. คนนั้นจะเป็นใคร ?
“วันนี้โครงสร้างที่ท่านนายกฯ นั่งหัวโต๊ะเอง ชี้ให้เห็นว่า อ านาจในการบังคับบัญชาที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทีนี้ก็
จะเป็นที่ตัวรัฐมนตรี แหละ”
พึ่งได้ เห็นผล อย่างนี้ ได้ไหม


สมมุติท่านนายกฯ มานั่งหัวโต๊ะ แล้วบังเอิญได้รัฐมนตรีคลังเก่งๆ อันนี้ผมยกตัวอย่าง ได้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
เก่งๆ แล้วมาอยู่ภายใต้ท่านด้วยและมีนโยบายการท างานที่ประสานกัน ผมยกตัวอย่าง โควิด ตอนหลัง เหมือน
รัฐบาลจับทางได้ มีทีมงานมืออาชีพท างาน มีหมอ เราก็ผ่านวิกฤตมาได้ ถ้าเกิดเราจะใช้โมเดล ลักษณะนั้น
แล้วท าให้เกิดเอกภาพ การบริหารงาน แต่นโยบายนี้ส าคัญ เพราะนโยบายทางเศรษฐกิจ มันต่างจากนโยบาย
โควิด เพราะนโยบายโควิด มันเป็นเฉพาะด้าน สาธารณสุข เหมือนว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่เป็นเรื่องแคบ โฟกัส
เป็นเรื่องเดียว
แต่เศรษฐกิจจะเอายังไงกับนักท่องเที่ยว ส่งออก การลงทุน มันมีตัวแปรเยอะไปหมด ตัวแปรนอกประเทศอีก
อย่างที่คุมโควิด เราเป็นตัวแปรในประเทศ เรา Social Distancing เฉพาะเรา 60 ล้านคน เราขอความ
ร่วมมือ แต่วันนี้ ต้องไปพึ่งกลไกลจากต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศ พึ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศ พึ่งนโยบาย
ภายในของแต่ละประเทศอีก ทุกประเทศช่วงนี้ ทุกคนต้องช่วยเหลือชาติก่อน เขาก็จะส่งเสริมให้เที่ยว
ภายในประเทศก่อน หรือส่งเสริมให้ซื้อสินค้าภายในประเทศก่อนก็เลยหยิบลัทธิชาตินิยมเอามาช่วยเศรษฐกิจ
เฉพาะหน้า ดังนั้น ปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเราไปคุมปัจจัยภายนอก ไม่ได้
แต่เราควบคุมปัจจัยภายในประเทศได้
นายกรัฐมนตรีได้อ้านาจในการบริหารจัดการแล้ว แต่บริหารจัดการมันยาก
จากนี้ไปมี 2 เรื่อง คือ 1.นโยบาย จะมีนโยบาย ยังไง เช่นการฟื้นตัวขณะนี้ 2.หลังฟื้นตัวแล้วประเทศไทยจะโต
ยังไง จะปรับทิศทางทางเศรษฐกิจยังไง สมมุติเดิมที่เศรษฐกิจของเราพึ่งจากการท่องเที่ยว พึ่งจากการส่งออก

เขาบอกเศรษฐกิจ เราพึ่งพาจากต่างประเทศ 90% เฉพาะส่งออก 75 % ของ GDP เรื่องการท่องเที่ยวอีก
15% ของ GDP เป็น 90% ไม่มีนักท่องเที่ยว หรือ ส่งออกไม่ได้เศรษฐกิจก็แย่เลย เรายืนอยู่บนพื้นฐานของคน
นอกประเทศ เราไม่ได้ยืนอยู่บนตัวตนเราเท่าไหร่ เราต้องพึ่งต่างประเทศเป็นหลัก
ดังนั้น หลังนิว นอร์มอลแล้ว เราจะปรับทิศทางโครงสร้างเศรษฐกิจยังไง เพื่อให้เรามีการกระจายความเสี่ยง
เวลาเกิดอะไรกระทบแรงๆ เราสามารถที่จะไปทางนั้นทางนี้ได้ การจัดโครงสร้างเศรษฐกิจที่เราสามารถบริหาร
ความเสี่ยง ในเวลาที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ เหมือนกับค่าเงิน แทนที่เราจะถือค่าเงินสกุลเดียว เราก็ถือเงินค่าเงิน
หลายสกุล เราก็สามารถมาบริหารความเสี่ยงได้อันนั้นเป็นปัญหาของเศรษฐกิจในวันข้างหน้า แต่เร็วๆ นี้ เอา
กันยังไง เห็นว่า 6 - 7 ล้านคนจะว่างงาน วันนี้นักท่องเที่ยว ปรากฏว่าขณะนี้เพิ่งจะมี 6-7 ล้านคน จากเคยมี
40 ล้านคน โรงแรมต่าง ๆ ยังปิด ภาคบริการยังปิด SME ก็ยังหยุดกิจการ ปลดคนงาน SME เป็น Supply
Chain ก็ไม่มีชิ้นส่วนไปให้อุตสาหกรรมใหญ่ นี้ก็คือ ปัญหาเฉพาะหน้า
จากนโยบาย 5000 บาท พักช้าระหนี ดูตลาดเงิน ตลาดทุน ด้วยการให้ Soft loan สามารถเยี่ยวยาได้
ไหม
ต้องดูว่าเราใช้เงินไปเท่าไหร่ สมมุติ เอา 4 แสนล้าน ไปสร้างโครงการในเรื่องโครงการพื้นฐานของชุมชน
5 แสนล้าน มาเตรียมเรื่อง Soft loan ให้กับ SME ทั้งหลาย รวมแล้วก็ประมาณ 9 แสนล้าน อีก 6 แสนล้านก็
เป็นเรื่องของด้านสาธารณสุขเรื่องอะไรไป และอีก 4 แสนล้าน ก็เป็นเรื่องของไปพยุงกองทุนในตลาด
หลักทรัพย์รวมทั้งหมดแล้ว 1.9 ล้านล้านบาท เอาว่าตอนนี้ที่เค้าคุย เรื่อง Soft loan ที่ไป SME ถือเป็นเรื่องที่
ดี ดอกเบี้ยต่ า 2% แต่ว่าตอนนี้ เหมือนว่ากฎกติกา ในเรื่องของแบงค์ มันก็มีเรื่องกติกาที่ถูกควบคุมด้วย แบงค์
ชาติ แล้วกฎกติกาของ SME ที่จะมาได้ Soft loan ก็มีมากอีก ปรากฏว่า SME ยังไม่ค่อยได้เลยเงินเลยเงิน
ออกยากมาก และเรื่อง 4 แสนล้านที่ไปสร้างโครงการในชนบท ตอนนี้ก็เพิ่งออกไปไม่กี่หมื่นล้าน ฉะนั้น ถือว่า
ความเร็วของการแก้ไขปัญหายังไม่เพียงพอ ต้องเหยียบให้มีอัตราการเร่ง ต้องเร็วกว่านี้เพื่อให้เงิน 9 แสนล้าน
นี้ เข้าไปสู่ระบบให้มากขึ้น
เม็ดเงินที่เข้าไป 9 แสนล้านมีความแรงพอไหม ปรากฏว่าพอไม่พอเราก็มีเม็ดเงินอยู่เท่านั้น ในขณะนี้เพราะเรา
ก็ต้องรักษาเสถียรภาพทางการคลัง บางทีเราใช้จ่ายเงินเยอะ เป็นหนี้เยอะ เค้าก็มีมาตรฐานของหนี้ต่อ GDP
ซึ่งทั่วโลกเค้าก็ใช้มาตรฐานสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ประมาณ 60% สมมุติเรามี GDP ประมาณ 15 ล้านล้าน 60%
ก็คือ 9 ล้านล้าน ณ วันนี้ ปรากฏว่า เราใช้ไป 1.9 ล้านล้าน มาฟื้นฟูเศรษฐกิจ และบังเอิญ GDP เราต่ าด้วย
ตอนนี้หนี้ต่อ GDP ก็ประมาณ 57-58% แล้ว แสดงว่าไฟเหลืองเตือนแล้ว ถ้าเกิดเรากู้เงินมามากกว่านี้มันจะ
ไปกระทบกับความน่าเชื่อถือของประเทศ แล้วจะเล่นยากมากขึ้น เกิดว่าเราจะปล่อยเพดานให้สูงขึ้นเพื่อให้มี
เงินมาฟื้นฟู มันก็อาจจะได้แต่จะกระทบกับค่าเงิน กระทบกับความเชื่อมั่นกับนักลงทุน อันนี้ประเทศเริ่มมี
ความเสี่ยงแล้วกับเครดิต เรดติ้ง ก็จะกู้ยากมากขึ้น กู้ด้วยดอกเบี้ยแพงขึ้นแล้วก็กระทบต่อตลาดทุน กระทบ
ตลาดหุ้น กระทบภาคเอกชน มันก็เป็นห่วงโซ่กันไปหมด เหมือนเราต้องมีขีดจ ากัดแล้วเราจะท ายังไง อันนี้เป็น
เรื่องของเม็ดเงิน ถ้ามันไม่พอจะหาเม็ดเงินจากที่ไหนยิงเข้าไป ท่ามกลางขณะนี้ 1. เงินต้องถึงมือเร็วกว่านี้

2. เม็ดเงินมันจะต้องมากกว่านี้คือแรง และ 3. ถ้าไปถึงมือแล้ว เม็ดเงินมากกว่านี้แล้ว ต้องให้มันตรงเป้าด้วย
ยิงกระสุน ยิงไปสิบนัด ยิงนัดเดียวก็ได้ขอให้ตรงเป้านั้นจะยิงยังไง ให้เข้าเป้า แล้วยิงยังไง ให้มันมีตัวทวีคูณ
มีMultiplier
ผมยกตัวอย่างโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ที่ใช้เงินกว่า 25,000 ล้าน ผมถือว่าเป็นโครงการที่ตรงเป้า เพราะภาค
ท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยตรง นักท่องเที่ยว 40 ล้านมีมาเที่ยวไม่ถึง 10 ล้าน แล้ว 30 ล้านที่เหลือไทย
ออกมาเที่ยวกันเอง อันนี้ถือว่าตรงเป้าแล้ว สองมีMultiplier ก็ที่รัฐบาลออกมาบอกว่า ผมให้ 40% นะ
คุณต้องออกมาให้อีก 60% พอคุณมาเที่ยวทีนี้ SME ก็เริ่มเปิดกิจการ โรงแรมออกมาท างาน ตลาดร้านค้า
กลับมาท างาน OTOP ร้านค้า ร้านก๋วยเตี๋ยว ตลาด ภาคบริการออกมาท างานหมด แสดงว่า มี Multiplier อีก
หลายอาชีพเงินหมุนไหลเวียนอีกเยอะ อันนี้เป็นตัวอย่างว่าในการฟื้นฟู ถ้าเงินเราน้อย พยายามยิงให้ตรงเป้า
กับยิงให้มี Multiplier อย่าให้เสียของมีตัวทวีคูณเยอะๆ ให้มันหมุนและกระจายไปทุกพื้นที และทุกอาชีพมัน
ถึงจะฟื้นตัวกันจริง ๆ
“ผมมองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้มอง 3 ตัว 1. เรื่องอัตราความเร็ว ของการเข้าไปฟื้นตัว 2. อัตราความ
แรง คือเม็ดเงินต้องมากพอ 3. ตรงเป้าและก็มีตัวทวีคูณ”
ถ้าคุณสุวัจน์ เป็นเหมือนนายกฯ เพราะได้ชื่อว่า COMPROMISE ทางการเมือง คุณสุวัจน์ จะท้าอย่างไร
อันดับความส าคัญแรก ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ต้องท าให้คนไม่ตกงาน เศรษฐกิจอยู่ได้ทุกคนมีงานท า มี
รายได้ ครอบครัวไม่เดือดร้อน อาชญากรรมไม่เกิด GDP ก็ยังโต แต่ทุกอย่างจะหยุดนิ่ง เพราะคนไม่มีงานท าก็
เพราะว่าปิดกิจการ เราต้องมาคิดว่าต้องท ายังไง ให้ธุรกิจกลับมาเดินเครื่อง เหมือนตอนนี้เราปิดเครื่องยนต์ไว้
ในช่วงโควิด วันนี้ต้องให้ทุกคน กลับมาสตาร์ทเครื่อง พอสตาร์ทเครื่องเริ่มผลิต เริ่มจ้างงาน ต้องท าให้คนมี
งานท าโดยเร็ว ต้องท าให้กิจการต่าง ๆ กลับมาเดินหน้า โดยเร็วที่สุด
ท ายังไงให้กิจการกลับมา รัฐบาลต้องเข้าไปคุยกับเขาเพื่อให้คนไม่ตกงาน สมมุติ โครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ก็
เป็นในลักษณะนั้น คือให้คนมาเที่ยว ภาคธุรกิจกลับมาเปิดแล้ว นี้เป็นตัวอย่าง นี้เป็นสเกล ตัวเล็ก ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับภาคบริการ ท่องเที่ยว ท ายังไงที่จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินหรือมาตรการ หรือปรับระบบโครงสร้างภาษี
หรือจะมีอะไรเป็นแรงจูงใจ ให้ธุรกิจกลับมา ขณะนี้ควร RE-DESIGN โครงสร้างภาษีทั้งระบบให้สอดคล้องกับ
เศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษี Vat ภาษีเงินได้ต่างๆ ภาษีที่ดิน ฯลฯ เพื่อลดภาระ
ให้กับภาคธุรกิจ เหมือนเพิ่มเงินให้กับเขาทางอ้อม เพื่อจะได้มีเงินไปเปิดกิจการ คนจะไม่ตกงาน ใช้กันสัก
2-3 ปีเพื่อป ระคองการฟื้นตัว และเมื่อ NEW NORMAL ของเศรษ ฐกิจเข้าที่แล้ว ก็ป รับกันอีกที
ให้มีโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม ให้รัฐบาลมีรายได้คืนกลับมาทีหลัง

คุณสุวัจน์ มองอนาคต 5 ปีหลังโควิดจะเป็นอย่างไร
ผมว่าตอนนี้สองอย่าง คือ ยุทธศาสตร์ประคองตัวไม่ให้จมน้ าก่อน ให้กิจการกลับมา ให้คนรีบกลับมาท างาน
แก้ไขปัญหาด้วยความรวดเร็ว แก้ไขปัญหาด้วยแมกนิจูด ด้วยความรุนแรง แก้ไขตรงเป้าและ มีMultiplier แต่
พอจบแล้วอยากให้เรากลับมาทบทวนตัวเราว่า
“วันนี้โลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเปลี่ยนแล้วประเทศจะเดินหน้ากันยังไง อะไรคือจุดแข็ง อะไรคือจุดอ่อน การที่
เราจะไปแข่งขันกับคนอื่น เราต้องไม่ไปแข่งขัน บนจุดอ่อน เราต้องแข่งขันบนจุดแข็ง ตัวตนของเรา ตัวตนของ
ประเทศไทยคืออะไร แล้วตัวตนที่ประเทศอื่นแข่งกับเราไม่ได้ เราเอาความรูปหล่อตรงนั้น มาแข่งกับเค้า เรา
อย่าไปแข่งกับเค้าบนความอ่อนแอก็เหมือนกับแข่งฟุตบอลที่เล่นเกมในบ้าน หรืออะไรที่เป็นตัวความเข้มแข็ง
ของสังคมไทยที่พิสูจน์มาแล้ว”
สมมุติที่ผ่านมา เราจะไปมองเรื่อง GDP เป็นหลักในการพัฒนาประเทศ เอา GDP มาเป็นตัววัดความส าเร็จ
ของการพัฒนาประเทศ แต่ในขณะที่ประเทศยังมีความเหลื่อมล้ า เราบอกว่าปีนี้ GDP 5% ถามว่า 100 คน
โต 5% เท่ากันหรือเปล่า อาจจะมีแค่ 2 คน แต่อีก 2 คนอาจจะโต 50% หรือ โต 100% แล้วเค้าก็มาดึง
curve ทั้งหมด แต่ที่เหลือติดลบทั้งหมด อันนี้ก็คือความเหลื่อมล้ า ฉะนั้น ถ้าโตไม่ถึง 5% ดีไหม คือ โตแค่ 1%
แต่ 100 คน โต 1% เหมือนกันหมด เราควรจะดึงข้างล่างขึ้นมา สมมุติGDP โต 5% เรามีคน 100 คน ให้คน
100 คนได้ 5% เหมือนกันหมด ฉะนั้น จะท ายังไง เราบอกว่าเราไปให้ความส าคัญมากกับเรื่อง GDP คือ ผล
ความส าเร็จของการพัฒนาประเทศ แต่ผลการส าเร็จการพัฒนาประเทศ ก็คือว่าท าให้ทุกคนโตเท่าๆ กัน
ให้GDP เราน้อยแต่ทุกคนได้ผลพวงเท่ากันยังดีกว่าเราได้GDP เยอะแต่มีความเหลื่อมล้ า สมมุติ วันนี้GDP
เรา 15 ล้านล้าน ถามว่าเป็น GDP ของคนไทยจริงๆ กี่ล้าน เพราะ GDP ที่เหลือเป็น GDP ของนักลงทุน ของ
คนต่างชาติ GDP แค่เอาชิ้นส่วนจากเมืองนอกแล้วมาผลิตภายในประเทศใส่แล้วส่งออก แต่เราค านวณเป็น
GDP ของประเทศ ดังนั้น ใน 15 ล้านล้าน เป็น GDP ของคนไทยแค่ 3 ล้านล้าน 4 ล้านล้านที่มาจากน้ ามือ
น้ าพักน้ าแรง มาจากหัวใจของคนไทย แต่ที่เหลือเป็น GDP ของคนต่างชาติเข้ามาอาศัยแผ่นดินเรา คนต่างชาติ
ที่มาอาศัย แรงงานเรา คนต่างชาติเข้ามาอาศัยข้อตกลงทางการค้าที่จะได้ประโยชน์ทางภาษีบนแผ่นดินเรา
แล้ วเราก็พึงพ อใจ GDP ว่าเติบโตแล้ วไป อยู่กับมือคน อื่น สู้ ว่ า GDP เราน้ อยแต่เป็ น GDP ของ
คนไทย ต้นกล้าของ GDP เกิดจากแผ่นดินไทย เกิดจากฟาร์มเกษตรของคนไทย เกิดจากการท่องเที่ยวของคน
ไทย อย่างนี้คือ ความยั่งยืน ฐานระดับล่างมีกินมีใช้ทุกคนเติบโตเหมือนกันหมด ฉะนั้น ถ้านิว นอร์มอลแล้ว
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศอะไรคือ ความเป็นไทย อะไรที่สามารถเป็น GDP ของคนไทยจริงๆ แล้วมัน
ยั่งยืน วันนี้เห็นชัดๆ 3 อย่าง คือ 1.ภาคเกษตร คือ ความเข้มแข็งของคนไทย 2. ภาคท่องเที่ยว เป็นความ
เข้มแข็งของสังคมไทย 3.ความน่าอยู่ของเมืองไทย คือ เมืองไทยเป็นเมืองปลอดภัย โควิด นิว นอร์มอล ใช่ไหม
โควิดกลายเป็นปัจจัยว่าจะไปไหน มาไหนกลัวโรคระบาด แต่เมืองไทยควบคุมได้ระบบสาธารณสุข หมอ
โรงพยาบาลมีวินัย ใส่หน้ากาก ล้างมือ Distancing มาเมืองไทยปลอดภัย เมืองไทยสาธารณสุขดีมาก อันนี้คือ
จุดแข็งของสังคมไทย

คุณสุวัจน์ กำลังจะบอกว่า
จากนี้ไปคนก็จะมองเมืองไทยเป็น เมืองปลอดภัย เมืองไทยคือ Second Home ของโลก เมืองไทยคือ
Second Office ของโลก นี้คือจุดแข็ง จากวันนี้ไปวิกฤตนี้มันสร้างจุดแข็งให้สังคม ไทย สมมุติว่าใครๆ ก็อยาก
มาอยู่เมืองไทย เราจะยก เพดานเรื่องอสังหาริมทรัพย์ การตั้งส านักงาน ที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติ ที่ซื้อได้ไม่
เกิน 49% หาวิธีปรับขึ้นได้ไหม หรือคนมาซื้อเยอะขึ้นเราใช้วิธีให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ อายุที่ยาวขึ้น เราสามารถ
ที่จะมาปรับเงื่อนไขบางอย่างเพื่อมาเสริมจุดแข็งของสังคม ไทย ให้เมืองไทยเป็นเมืองลงทุน เมืองไทยเป็น
Second Office เมืองไทยเป็น Second Home คือ มาอยู่เมืองไทยแล้วมีความสุข มีความปลอดภัย คน
เหล่านี้มีเงิน มีความรู้ความสามารถ ก็จะมีการย้ายฐานการลงทุนมาที่ประเทศไทย ดังนั้น การเป็น Second
Home ของโลก คือ บีโอไอที่ส าคัญ จากเรื่องโควิด เราสามารถที่จะสร้างเมืองไทย การรักษาพยาบาล อยู่อย่าง
ปลอดภัย การเป็น Second Home ของโลก การเป็น Second Office ของโลก เพราะเดียวนี้อยู่ที่ไหน
ท างานทางออนไลน์กันได้หมด เป็นสิ่งที่เมืองไทยได้เปรียบ อันนี้คือจุดแข็ง
2. เรื่องภาคการเกษตร วันนี้ส่งออกติดลบเกือบ 30% แต่เรื่องเดี่ยวที่ไม่ติดลบ คือ ส่งออกอาหาร อันนี้พิสูจน์
ให้เห็นว่าท่ามกลางวิกฤติเราคือ ครัวของโลก วันนี้ผลกระทบในเรื่องของจ านวนประชากรโลกมากขึ้น พื้นที่
การเกษตรน้อยลงของทั่วโลกและผลกระทบทางด้านภัยธรรมชาติแต่บ้านเราได้รับผลกระทบน้อย เมืองไทย
เป็นสังคมเกษตร ครึ่งหนึ่งของประชากรก็อยู่ในสังคมการเกษตร นี่คือจุดแข็ง เราเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรราย
ใหญ่ของโลก คือ ข้าว อ้อย มันส าปะหลัง ปาล์ม ยางพารา ข้าวโพด ไทยติด 1 ใน 5 ผู้ผลิตของโลก ฉะนั้น
เรา คือมหาอำนาจทางด้านการเกษตรของโลกตัวจริง
แต่เรายังไม่ได้ใส่การตลาด การเพิ่มมูลค่าสินค้า การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ ใส่คาแรคเตอร์กันอย่าง
จริงจัง คือ ปลูกข้าวขายข้าว ปลูกมันขายมัน ปลูกยางขายยาง สมมุติจากนี้ไปมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจด้าน
การเกษตรใหม่ ภายใน 10 ปีสินค้าเกษตรต้องออกไปเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่า ตัวอย่าง ยางพารา ประเทศไทย
ผลิตยางพารา ปีละ 4 ล้านตัน เอายางพารา 5 แสนตันมาผลิตเป็นถุงมือ ยางรถยนต์ หมอน คือ เอามาแค่
15% เปลี่ยนจากวัตถุดิบเป็นอุตสาหกรรมส่งออก มูลค่าของการส่งออก เท่ากับ 85% ของที่เหลือ คือ 3.5 ล้าน
ตัน ที่ส่งออกยางพาราเป็นวัตถุดิบ เมื่อทุกอย่างเป็นสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10 เท่า และ
การเพิ่มมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรทุกอย่าง ข้าว มันส าปะหลัง น้ ามันปาล์ม ข้าวโพด เป็นการเพิ่มมูลค่า
ระดับสูงด้วยเทคโนโลยี ถ้าท าอย่างนี้แล้วเราก็มีแผนทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจว่าโครงสร้างแบบนี้ผลผลิต
ทางด้านการเกษตรส่งออกเป็นวัตถุดิบ เป็นสัดส่วนต่อส่งออกเป็นอุตสาหกรรมด้านเกษตร ปีต่อไป 60 : 40
ต่อไป 50 : 50 อีก 10 ปีจะไม่เห็นเราส่งสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบแล้ว แต่จะเป็นสินค้าที่แต่งตัวแล้วในด้าน
อุตสาหกรรมการเกษตร และอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะยิ่งใหญ่ รัฐบาลต้องใช้โอกาสนี้เราต้องมีการพัฒนาเรื่อง
การเกษตรอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาการเกษตรเป็นอะไรที่เรามองบางมาก ทุกวันนี้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
มีอะไรบ้าง มอเตอร์เวย์ทางด่วน รถไฟฟ้า EEC สนามบิน

“ผมยังไม่ค่อยได้ยินค าว่าโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรว่าปีนี้จะมีโครงการอ่างเก็บน้ าใหญ่ๆ อะไร ปีนี้จะ
เป็นโครงการเขื่อนใหญ่อะไรที่ให้น้ าเพื่อการเกษตร ปีนี้จะมีโครงการชลประทานอะไร ปีนี้จะมีโครงการ
ดาวเทียมเพื่อการเกษตรหรือโครงการพัฒนาต่าง ๆ โครงการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือโครงการ
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือโครงการยกระดับแรงงานภาคเกษตรอย่างไร ฉะนั้น การพัฒนาประเทศด้วย
โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป ที่มันกระจายไปเยอะแล้วมา Focus เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตรบ้าง และจัด
ระดับความส าคัญของงบประมาณ มีแผน 5 ปี 10 ปีภาคเกษตรจะเป็นแบบนี้ คิดดูว่าความยิ่งใหญ่ของ
ประเทศไทย”


เรื่องสุดท้ายคือ การท่องเที่ยว เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆของโลก ผมคิดว่าถ้าเราสามารถที่จะเติม
ในเรื่องของโครงสร้างเป็นฐานทางด้านการท่องเที่ยวของเก่าเราดีอยู่แล้วในเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมของ
ชาติสินค้า OTOP ภาคบริการ รอยยิ้ม อาหาร อะไรต่างๆ ตอนนี้แต่เติมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน
ท่องเที่ยว ถนนสวยๆ เข้าไปในแหล่งท่องเที่ยว ถนนเลียบชายหาด รัฐบาลเคยมีโครงการ “ไทยแลนด์ ริเวียร่า”
เป็นโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบนด้านอ่าวไทย ตั้งแต่เพชรบุรี ชะอ า หัวหิน ปราณบุรี ประจวบ
ชุมพร ไปจนถึงสุราษฎร์ธานียาวประมาณ 400 กิโลเมตร ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เพชรบุรีเป็นเมืองที่
มีพระราชวังเก่า ชะอ า เมืองสนุก หัวหิน เป็นเมืองแบบ Nice, Cannes ปราณบุรี เป็น St.Tropez ชุมพร
เมืองด าน้ าระดับโลก เกาะเต่า เกาะนางยวน สมุย หมู่เกาะอ่างทอง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ด้ามขวานฝั่ง
ซ้ายอันดามันก็มีภูเก็ตทั่วโลกรู้จัก บ้านเรามีชายฝั่งทะเลกว่า 2000 กิโลเมตร มีประเทศไหนในโลกที่มีชายฝั่ง
ทะเลสวยและติดทั้งสองฝั่งทั้งอันดามันและอ่าวไทย มันก็เลยมีโครงการที่จะท าไทยแลนด์ริเวียร่า ให้เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในอนาคต เหมือนฝั่งชลบุรี พัทยา ระยอง ซึ่งตอนนี้กลายเป็นพื้นที่ EEC โครงการพัฒนา
ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกไปแล้ว
แต่ท่ามกลางความสวยงามเรื่อง infrastructure 400 กิโลเมตรฝั่งอ่าวไทยไม่มีท่าจอดเรือ marina สักแห่ง
ลองคิดดูพัทยามีmarina หนึ่งแห่งที่ท าให้พัทยาเกิด ภูเก็ต มีmarina ตั้ง 5-6 แห่ง เพราะยกเลิกการเก็บภาษี
เรือยอร์ช ซึ่งเคยเก็บกัน 300 ถึง 400% ในอดีต ตอนนี้เรือยอร์ชมหาเศรษฐีมาภูเก็ตกันเยอะ ท าให้เกิด
marina ท าให้ภูเก็ตเป็นเกาะระดับโลก ฉะนั้น เราพูดถึงการปรับโครงสร้างภาษีเราควรจะต้องปรับโครงสร้าง
ภาษีให้เหมาะกับจังหวะของประเทศ
อันนี้ผมยกตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยว เราต้องรีบท า marina ถนน ทางรถไฟ สถานีรถไฟ
สวยๆ อันไหนที่รัฐบาลท าไม่ได้ก็ให้เอกชนท า แต่รัฐบาลต้องอ านวยความสะดวกอะไรต่าง ๆ ให้มันเกิดแหล่ง
ท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยวที่ลงทุนโดยภาคเอกชน ที่เราควรจะรีบเข้าไปส่งเสริมในการ
ลงทุนขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Man Made Destination ตัวอย่าง ประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN มีการถมทะเล
และมีแหล่งท่องเที่ยว Universal ทุกคนแห่ไปเที่ยว แต่ของเรายังไม่ค่อยมีการลงทุนขนาดใหญ่ ถ้าเราส่งเสริม
ในเรื่องมาตรการทางภาษีเชื้อเชิญ เค้ามาลงทุนด้าน Man Made Destination บวกกับโครงสร้างพื้นฐานของ
ภาครัฐ และความสวยงามของธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว จะท าให้การท่องเที่ยวของเรามีความ

หลากหลาย และเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยอาศัยจังหวะที่ว่ามาเที่ยวเมืองไทยแล้วไม่มีโควิด มาเที่ยวเมืองไทย
แล้วปลอดภัยทางด้านสาธารณะสุข ฉะนั้น
“จากนี้ไป นิว นอร์มอล ด้านเศรษฐกิจ นอกเหนือจาก นิว นอร์มอล ด้านการเมืองแล้ว นิว นอร์มอล ด้าน
เศรษฐกิจเราต้องมาหาตัวตนเราให้เจอ ว่าตัวตนเราอยู่ที่ไหน เราก็ท าในเรื่องนั้น การจะขึ้นเวทีเข้าไปชก เราไม่
เข้มแข็งไม่ได้การเกษตร การท่องเที่ยวความเป็นอยู่ ท าเมืองไทยให้เป็นบ้านหลังที่สองของโลก ผมว่าถ้าท าตัว
นี้ไม่ต้องสนใจเรื่อง GDP มากนัก แต่คนไทยทุกกลุ่มได้ประโยชน์โดยความเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ า เรา
ก็แข็งแรงได้ด้วยถ้าเกิดโควิด 2 โควิด 3 โควิด 4 ไม่มีผลกระทบอะไรกับเรา เพราะเราอยู่บนความเข้มแข็งของ
เรา เราไม่ได้พึ่งอะไรใคร ยิ่งเกิดอะไรมากต่างประเทศต้องยิ่งวิ่งมาหาเรา”


คุณสุวัจน์ คิดว่าครม. ใหม่จะอยู่ครบเทอมไหม
ผมว่าคนไทยทั้งประเทศฝากความหวังกับรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรีทั้ง
36 คน ก็ต้องท างานกันเต็มที่ เสียสละวันนี้ รัฐบาลเกือบครึ่งเทอมแล้วจะปีครึ่งแล้ว ครึ่งแรกมาแบบช้า ๆ ครึ่ง
หลังมาเร็วและเป็นครึ่งหลังที่อยู่บนความหวัง ความอยู่รอดของประเทศ ฉะนั้น ทุกคนต้องเสียงสละเพื่อ
ประเทศชาติ ส่วนจะอยู่ครบเทอมหรือไม่ หรือจะมีอุบัติเหตุไหม ถ้าอยู่ครบเทอมได้ดีมันต่อเนื่อง มีเวลาท างาน
ยิ่งได้คนดี คนเก่ง เสียสละ เข้ามาแล้วท างานได้ท างานเป็นทีมต้องให้เค้าอยู่ยาวๆ เพื่อให้เค้าแก้ไขปัญหา
ประเทศ แต่จะอยู่ยาว อยู่สั้น การเมืองไม่แน่เหมือนขับรถออกจากบ้านยางแตก ชนเฉี่ยวก็ได้ หรือบางที่
ทะเลาะกันในรถมันมีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้เยอะ

Facebook : https://www.facebook.com/jaocatswatch/posts/191671402304432